Monday, July 21, 2014

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มาจัดการอาการกวนใจกันดีกว่า




          ผู้อ่านนิตยสาร อาหาร & สุขภาพ ถามเข้ามาว่า จะรักษาอาการอาหารไม่ย่อยได้อย่างไร ใครที่มีอาการแบบนี้อยู่ ลองฟังคำแนะนำกันดูค่ะ

          สำหรับ อาการแสบร้อนในอก กรดไหลย้อน หรืออาการไม่สบายจากอาหารไม่ย่อยหลังรับประทานอาหารอาจเกิดจากการผลิตกรดในกระเพาะมากเกินไป หรือบางทีก็อาจไม่มีกรดมากพอก็ได้เช่นกัน การรักษาแบบแพทย์กระแสหลักคือ การให้ยาลดกรด (ซึ่งเป็นตัวบัฟเฟอร์ให้กับกรดในกระเพาะ) และยายับยั้งการปั๊มโปรตอน (proton-pump inhibitors ซึ่งยับยั้งการหลั่งกรดไฮโดรคลอริค)

          ยาทั้งสองชนิดทำให้ค่า pH ในกระเพาะสูงขึ้น (มีความเป็นด่างมากขึ้น-ผู้แปล) และยับยั้งเป็บซิน ซึ่งจำเป็นในการย่อยโปรตีน ข้อดีที่ได้นั้นถูกบดบังจากอาการข้างเคียงที่เกิดจากการย่อยโปรตีนไม่เพียง พอ เกิดอาหารบูดเน่าในกระเพาะและลำไส้, แบคทีเรียที่เลวเจริญมากขึ้น, แพ้อาหารและไวต่ออาหาร, ปวดท้อง, ท้องเสีย และท้องอืดแล้วยังมีอาการอื่นอีก ลองใช้วิธีต่อไปนี้ซึ่งเป็นวิธีแบบองค์รวม

         
รับประทานอาหารช้า ๆ การรับประทานมากเกินไปและรีบเร่งทำให้น้ำย่อยไหลขึ้นมายังหลอดคอ คอยดูปริมาณที่รับประทาน ให้หยุดทานอาหารก่อนที่จะรู้สึกอิ่ม และรับประทานอาหารอย่างผ่อนคลาย รับประทานอาหารเป็นมื้อประจำ อย่าข้ามมื้อ

         
เริ่มต้นตอนเช้าด้วยน้ำมะนาว เริ่มต้นวันด้วยการดื่มน้ำมะนาว ½ ลูกผสมกับน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหาร

 
         
เลิกอาหารที่ไปกระตุ้น ทั้ง ช็อกโกแลต, อาหารทอด, เครื่องดื่มน้ำอัดลม, ชา, กาแฟ, การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ ล้วนทำให้น้ำย่อยมากขึ้นแล้วไปทำให้กล้ามเนื้อลิ้นหลอดอาหาร (gastro-esophageal sphincter) หย่อนยานไม่รัดตัว

         
รับประทานผัก รับประทานผักสีเขียวที่มีรสขมให้มากขึ้น เช่น ชิโครี่, ผักกาดหอม, วอเตอร์เครส, ผักกาดเขียวปลี เหล่านี้ช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอย่างธรรมชาติ สับปะรดและมะละกอมีเอนไซม์ที่ช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น

 
         
สมุนไพร สมุนไพรที่ช่วยขับลมมีน้ำมันที่ช่วยให้กล้ามเนื้อในทางเดินอาหารที่กระตุกเกิดการผ่อนคลายลง สมุนไพร ที่ให้ผลมากที่สุด คือสะระแหน่, ขิง, และหญ้าฝรั่น สมุนไพรที่มีมิวชิเลจ (โพลี่แชคคาไรด์ที่เหนียว ๆ เคลือบ อยู่ตามเยื่อเมือก) จะช่วยบรรเทาและรักษาการอักเสบและการระคายเคืองของเซลบุหลอดอาหาร

 
          ให้ดื่มชาจากมาชเมลโลว์, ชะเอมเทศ หรือใช้สมุนไพร slippery elm ชนิดผง (1 ช้อนชาผสมกับน้ำ 100 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร 15 นาที แชมโมไมล์ถูกนำมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อยมาแต่โบราณ และใช้เป็นชาบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี สมุนไพรรสขม เช่น ดอกหรีด (gentian), ใบอาร์ติโช้ค, แดนดิไลอัน, และตังกุย ช่วยกระตุ้นกรดในกระเพาะได้อย่างอ่อนโยน ก่อนรับประทานอาหาร ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้ปริมาณที่เหมาะสม

         
ดูแลแบคทีเรียที่ดี การรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติคส์จะช่วยให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้มีจำนวนมากขึ้น ช่วยการย่อยอาหารให้ดีขึ้น รวมทั้งทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงแบคทีเรียเหล่านี้ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง, แอปเปิล, กล้วย, ข้าวโอ๊ต, ข้าวไรย์ และหอมใหญ่

  
แหล่งที่มา  อาหาร & สุขภาพ, http://health.kapook.com/view92390.html
เครดิตภาพ  https://hipokrates2012.wordpress.com/2014/04/02/papaja-eliksir-zdrowia/

No comments:

Post a Comment