ประโยชน์ของการฟังเพลงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ไม่ได้แค่ช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้นเท่านั้นนะคะ แต่ประโยชน์ด้านสุขภาพจากการฟังเพลง
ยังมีอีกเยอะจนน่าทึ่ง !
เคยฟังเพลงจังหวะสนุกแล้วรู้สึกครึกครื้นขึ้นมาทันทีบ้างไหมคะ หรือใครที่กำลังเศร้าอยู่พอฟังเพลงเศร้าก็กลับรู้สึกดีขึ้นมาซะอย่างนั้น ซึ่งก็เท่ากับว่าแม้เราจะตกอยู่ในห้วงอารมณ์ไหน เสียงเพลงก็ช่วยขับกล่อมให้จิตใจรู้สึกดีขึ้นได้ตลอด แต่คนรักเสียงเพลงน่าจะมีความสุขกับการฟังเพลงกันมากยิ่งขึ้น หลังจากได้อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ เพราะเว็บไซต์ Reader’s digest เขาได้นำ 9 ประโยชน์ด้านสุขภาพจากการฟังเพลงมาบอกต่อ ซึ่งก็จะทำให้คุณ ๆ ได้รู้ว่า การฟังเพลงไม่ได้แค่ช่วยให้รู้สึกครื้นเครงเท่านั้นจริง ๆ
1. คลายความเครียด
ใคร ๆ ก็รู้ว่าดนตรีช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น ยิ่งได้ฟังเพลงโปรดก็ยิ่งแฮปปี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า แต่นอกจากความฟินที่ได้ฟังเพลงเพราะแล้ว งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ยังเน้นย้ำให้แน่ใจอีกด้วยว่า การฟังเพลงโปรดช่วยคลายความเครียด ลดความกดดัน และคลายความกังวลในจิตใจได้เป็นอย่างดี อ้างอิงโดยการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วย ICU นั่นเอง
2. ลดความอ้วนด้วยดนตรีจังหวะนุ่มนวล
สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงไดเอต และอยากจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารของตัวเอง อย่างนี้ต้องจัดฉากโรแมนติก กินข้าวเคล้าเสียงเพลงคลาสสิค เพลงแจ๊ส หรือเพลงจังหวะเบา ๆ สักหน่อยแล้วล่ะค่ะ เพราะวารสารด้านจิตวิทยาได้รายงานผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลเอาไว้ว่า เหล่าคนที่กินข้าวเคล้าเสียงเพลงจังหวะนิ่ม ๆ จะกินอาหารได้น้อยลงกว่า 18% จากปกติเชียวล่ะ
3. กระตุ้นแรงบันดาลใจด้วยเพลงมีจังหวะ
ในขณะที่เพลงจังหวะเนิบช้าช่วยลดความอยากอาหาร มหาวิทยาลัยนอร์ธัมเบรียก็แสดงผลวิจัยตีคู่กันมาว่า เสียงเพลงในจังหวะเร็วขึ้นมาอีกนิดจะช่วยกระตุ้นความตื่นตัว เสริมแรงบันดาลใจที่ทำท่าว่าจะมอดดับของคุณให้กลับมามีพลังอีกครั้งได้ด้วย โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็เกิดจากการทดสอบของกลุ่มวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจแห่งความเครียดชิ้นหนึ่งและพบว่า เขาเหล่านี้จะทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ฟังเพลง
เคยฟังเพลงจังหวะสนุกแล้วรู้สึกครึกครื้นขึ้นมาทันทีบ้างไหมคะ หรือใครที่กำลังเศร้าอยู่พอฟังเพลงเศร้าก็กลับรู้สึกดีขึ้นมาซะอย่างนั้น ซึ่งก็เท่ากับว่าแม้เราจะตกอยู่ในห้วงอารมณ์ไหน เสียงเพลงก็ช่วยขับกล่อมให้จิตใจรู้สึกดีขึ้นได้ตลอด แต่คนรักเสียงเพลงน่าจะมีความสุขกับการฟังเพลงกันมากยิ่งขึ้น หลังจากได้อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ เพราะเว็บไซต์ Reader’s digest เขาได้นำ 9 ประโยชน์ด้านสุขภาพจากการฟังเพลงมาบอกต่อ ซึ่งก็จะทำให้คุณ ๆ ได้รู้ว่า การฟังเพลงไม่ได้แค่ช่วยให้รู้สึกครื้นเครงเท่านั้นจริง ๆ
1. คลายความเครียด
ใคร ๆ ก็รู้ว่าดนตรีช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น ยิ่งได้ฟังเพลงโปรดก็ยิ่งแฮปปี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า แต่นอกจากความฟินที่ได้ฟังเพลงเพราะแล้ว งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ยังเน้นย้ำให้แน่ใจอีกด้วยว่า การฟังเพลงโปรดช่วยคลายความเครียด ลดความกดดัน และคลายความกังวลในจิตใจได้เป็นอย่างดี อ้างอิงโดยการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วย ICU นั่นเอง
2. ลดความอ้วนด้วยดนตรีจังหวะนุ่มนวล
สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงไดเอต และอยากจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารของตัวเอง อย่างนี้ต้องจัดฉากโรแมนติก กินข้าวเคล้าเสียงเพลงคลาสสิค เพลงแจ๊ส หรือเพลงจังหวะเบา ๆ สักหน่อยแล้วล่ะค่ะ เพราะวารสารด้านจิตวิทยาได้รายงานผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลเอาไว้ว่า เหล่าคนที่กินข้าวเคล้าเสียงเพลงจังหวะนิ่ม ๆ จะกินอาหารได้น้อยลงกว่า 18% จากปกติเชียวล่ะ
3. กระตุ้นแรงบันดาลใจด้วยเพลงมีจังหวะ
ในขณะที่เพลงจังหวะเนิบช้าช่วยลดความอยากอาหาร มหาวิทยาลัยนอร์ธัมเบรียก็แสดงผลวิจัยตีคู่กันมาว่า เสียงเพลงในจังหวะเร็วขึ้นมาอีกนิดจะช่วยกระตุ้นความตื่นตัว เสริมแรงบันดาลใจที่ทำท่าว่าจะมอดดับของคุณให้กลับมามีพลังอีกครั้งได้ด้วย โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็เกิดจากการทดสอบของกลุ่มวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจแห่งความเครียดชิ้นหนึ่งและพบว่า เขาเหล่านี้จะทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ฟังเพลง
4. ช่วยให้การสูบฉีดเลือดคล่องตัวขึ้น
นักวิจัยชาวดัตช์ได้เผยผลวิจัยในการประชุมของสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป เมื่อปี 2003 ว่า ผู้ป่วยที่ฟังเพลงโปรดวันละ 30 นาทีเป็นประจำในขณะที่ออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เพิ่มกรดไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ตัวช่วยขยายหลอดเลือดให้เลือดเดินสะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจในเวลาต่อมา
5. ยิ่งร้องประสานเสียงยิ่งมีความสุขได้อีก
ในจำนวนผู้ทดลอง 375 คน แบ่งเป็นกลุ่มนักร้องประสานเสียง นักร้องเดี่ยว และกลุ่มนักกีฬาเป็นทีม ผลวิจัยของประเทศอังกฤษก็พบว่า กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นทีมจะมอบความสุขให้กลุ่มผู้ทดลองได้มากกว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักร้องประสานเสียง ซึ่งสามารถวัดระดับความสุขได้สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้นักวิจัยก็อธิบายเพิ่มเติมว่า การได้ทำอะไรร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความสามัคคี ความรู้สึกว่าเราเป็นทีมเดียวกัน จะส่งเสริมให้ทุกคนมีกำลังใจและมีความสุขมากขึ้น และยิ่งมีเสียงเพลงคอยขับกล่อมด้วยแล้ว ความสุขใจก็ทบทวีคูณเป็นสองเท่าเลยจ้า
นักวิจัยชาวดัตช์ได้เผยผลวิจัยในการประชุมของสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป เมื่อปี 2003 ว่า ผู้ป่วยที่ฟังเพลงโปรดวันละ 30 นาทีเป็นประจำในขณะที่ออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เพิ่มกรดไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ตัวช่วยขยายหลอดเลือดให้เลือดเดินสะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจในเวลาต่อมา
5. ยิ่งร้องประสานเสียงยิ่งมีความสุขได้อีก
ในจำนวนผู้ทดลอง 375 คน แบ่งเป็นกลุ่มนักร้องประสานเสียง นักร้องเดี่ยว และกลุ่มนักกีฬาเป็นทีม ผลวิจัยของประเทศอังกฤษก็พบว่า กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นทีมจะมอบความสุขให้กลุ่มผู้ทดลองได้มากกว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักร้องประสานเสียง ซึ่งสามารถวัดระดับความสุขได้สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้นักวิจัยก็อธิบายเพิ่มเติมว่า การได้ทำอะไรร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความสามัคคี ความรู้สึกว่าเราเป็นทีมเดียวกัน จะส่งเสริมให้ทุกคนมีกำลังใจและมีความสุขมากขึ้น และยิ่งมีเสียงเพลงคอยขับกล่อมด้วยแล้ว ความสุขใจก็ทบทวีคูณเป็นสองเท่าเลยจ้า
6. ลับสมองด้วยทักษะดนตรี
วารสารประสาทวิทยาแสดงผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดนตรีกับประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ได้รู้ทั่วกันว่า คนที่มีทักษะการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตั้งแต่ยังเด็ก หรือแม้จะเพิ่งเริ่มเล่นดนตรีในช่วงวัยรุ่นก็ตาม มีแนวโน้มคงประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ยาวนานกว่าคนที่ชีวิตนี้ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับดนตรีเลย อีกทั้งนักดนตรีทั้งหลายยังมีทักษะการแยกแยะและตอบสนองต่อเสียงได้ยอดเยี่ยม อีกต่างหาก
7. เสียงเพลงเรียกร้องความร่วมมือจากเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากหล่อหลอมให้ลูกรักมีจิตใจอ่อนโยน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ และว่านอนสอนง่าย นักวิจัยจากประเทศอังกฤษก็แนะนำให้ส่งลูก ๆ เข้าเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ไปเลยค่ะ เพราะเสียงเพลงจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เด็ก ๆ เกิดความอ่อนโยน มีสมาธิมากขึ้น และมีแนวโน้มเป็นเด็กเก่งที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อให้เพื่อน ๆ ด้วย
วารสารประสาทวิทยาแสดงผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดนตรีกับประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ได้รู้ทั่วกันว่า คนที่มีทักษะการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตั้งแต่ยังเด็ก หรือแม้จะเพิ่งเริ่มเล่นดนตรีในช่วงวัยรุ่นก็ตาม มีแนวโน้มคงประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ยาวนานกว่าคนที่ชีวิตนี้ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับดนตรีเลย อีกทั้งนักดนตรีทั้งหลายยังมีทักษะการแยกแยะและตอบสนองต่อเสียงได้ยอดเยี่ยม อีกต่างหาก
7. เสียงเพลงเรียกร้องความร่วมมือจากเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากหล่อหลอมให้ลูกรักมีจิตใจอ่อนโยน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ และว่านอนสอนง่าย นักวิจัยจากประเทศอังกฤษก็แนะนำให้ส่งลูก ๆ เข้าเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ไปเลยค่ะ เพราะเสียงเพลงจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เด็ก ๆ เกิดความอ่อนโยน มีสมาธิมากขึ้น และมีแนวโน้มเป็นเด็กเก่งที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อให้เพื่อน ๆ ด้วย
8. ชะลออารมณ์หงุดหงิดของคนขับรถ
ทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การขับรถเป็นวิธีสร้างอารมณ์ฉุนเฉียวให้เราได้มากมายขนาดไหน ก็แหม เดี๋ยวรถคันนั้นก็ปาดหน้า เดี๋ยวก็มอเตอร์ไซค์แซงซ้ายแซงขวาฉวัดเฉวียน แค่คิดก็พาอารมณ์ขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะคะ แต่งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการยศาสตร์ เมื่อปี 2013 ก็ชี้แนะวิธีลดความโกรธของผู้ขับขี่โดยให้ผู้ขับขี่เปิดเพลงโปรดฟังคลอการ ขับขี่ไปเรื่อย ๆ แค่นี้ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และการขับขี่ของตัวเองได้อย่างชิล ๆ มากกว่าเดิมแล้ว
ทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การขับรถเป็นวิธีสร้างอารมณ์ฉุนเฉียวให้เราได้มากมายขนาดไหน ก็แหม เดี๋ยวรถคันนั้นก็ปาดหน้า เดี๋ยวก็มอเตอร์ไซค์แซงซ้ายแซงขวาฉวัดเฉวียน แค่คิดก็พาอารมณ์ขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะคะ แต่งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการยศาสตร์ เมื่อปี 2013 ก็ชี้แนะวิธีลดความโกรธของผู้ขับขี่โดยให้ผู้ขับขี่เปิดเพลงโปรดฟังคลอการ ขับขี่ไปเรื่อย ๆ แค่นี้ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และการขับขี่ของตัวเองได้อย่างชิล ๆ มากกว่าเดิมแล้ว
9. ควบคุมโรคมะเร็งในเด็กได้อยู่หมัด
โรงพยาบาลเพื่อการวิจัยเด็กเซนต์จูด (St. Jude Children’s Research Hospital) ได้เผยผลการทดลองว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นที่ทำการรักษาด้วยดนตรี มีแนวโน้มควบคุมการขยายตัวของโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ได้เรียนรู้ การเขียนเพลงและการทำมิวสิควิดีโอ เนื่องจากโลกแห่งเสียงดนตรีจะช่วยเยียวยาความรู้สึก และป้องกันปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามาบั่นทอนผู้ป่วยให้หมดกำลังใจในการรักษา ได้ และเมื่อผู้ป่วยมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้นก็มีโอกาสต่อสู่โรคมะเร็งได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพขึ้นนั่นเอง
จากข้อดีของการฟังเพลงที่ เราได้กล่าวมาทั้งหมดก็น่าจะพอยืนยันได้แล้วนะคะว่า เสียงดนตรีไม่ได้มีดีแค่ทำให้ชีวิตเราสนุกสนานครื้นเครงเท่านั้น แต่ยังพกประโยชน์ด้านสุขภาพมาให้เราเก็บเกี่ยวได้อีกเพียบเลยทีเดียว
No comments:
Post a Comment