การเป็นเจ้าของบ้านสักหลังคือความฝันยิ่งใหญ่ของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในวัยสร้างครอบครัว
บ้านจะช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่ง การซื้อบ้านถือเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อย
ทั้งภาระผ่อน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงเอกสารในการกู้บ้านอีกหลายอย่าง เพื่อเป็นเจ้าของบ้านในฝันอย่างสบายใจ
จึงมีเทคนิคการเตรียมความพร้อมในการซื้อบ้านมาฝากค่ะ
1. เตรียมความพร้อมเรื่องเงิน
สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงคือ เงินดาวน์ ที่ควรมีอย่างน้อย 10-20% ของราคาบ้าน เพราะธนาคารมักปล่อยกู้ประมาณ 80-90% ของมูลค่าบ้าน ดังนั้น ลองดูว่าบ้านที่ต้องการราคาเท่าไร มีเงินดาวน์บ้านเพียงพอหรือยัง หรือต้องเก็บออมเงินเพิ่มเติม และท่องไว้เลยว่า ยิ่งดาวน์มาก ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยลดดอกเบี้ยได้มหาศาล แถมช่วยให้มีโอกาสกู้บ้านผ่านแบบสบาย ๆ หายห่วงมากขึ้นด้วย
2. ตรวจสอบกำลังการผ่อนของตัวเอง
เมื่อเตรียมพร้อมจะกู้แล้ว ควรรู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการผ่อนแค่ไหน ถ้าให้ดีไม่ควรผ่อนเกิน 35-40% ของรายได้แต่ละเดือน เพราะถ้าเกินกว่านั้น อาจกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกินตัว และกระทบฐานะทางการเงินของตัวเองหรือครอบครัวได้ ดังนั้น ต้องคิดให้ดีก่อนกู้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้ากู้ซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็ควรมีเงินเดือนอย่างน้อย 17,000 บาท และผ่อนบ้านไม่เกินเดือนละ 7,000 บาท
3. เลือกอัตราดอกเบี้ยที่ใช่
ดอกเบี้ยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคิดให้ดี เพราะมีให้เลือกทั้งแบบลอยตัว และแบบคงที่ ถ้าคาดว่า ดอกเบี้ยเป็นช่วงขาขึ้น ควรเลือกกู้เงินแบบดอกเบี้ยคงที่ แต่คาดว่าดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง ควรเลือกกู้เงินเป็นแบบดอกเบี้ยลอยตัว อ่านแล้วอย่าเพิ่งงง ลองหาโปรโมชันดอกเบี้ยที่โดนใจและศึกษาอย่างถี่ถ้วน จะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง แต่ที่สำคัญ ดอกเบี้ยที่จ่ายผ่อนบ้าน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี
4. เตรียมเอกสารให้ครบ
เมื่อเลือกทุกอย่างเรียบร้อย ทั้งบ้านที่ถูกใจ ดอกเบี้ยที่ใช่สำหรับตัวเอง ก็มาถึงขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อ โดยทั่วไปเอกสารหลัก ๆ ที่ต้องใช้ในการกู้ซื้อบ้านคือ สลิปเงินเดือน และบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน สำหรับเจ้าของกิจการ จะใช้เป็นทะเบียนการค้า และบัญชีธนาคารที่มียอดหมุนเวียนย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
5. สร้างภูมิคุ้มกันให้บ้าน
หลังจากกู้บ้านผ่านแล้ว อย่าลืมกันเงินรายได้เพื่อเป็นเงินผ่อนบ้านในแต่ละเดือน และขอแนะนำให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดฝันด้วยการสร้างความคุ้มครองให้กับบ้านผ่านการทำประกัน เช่น “ประกันภาระหนี้สิน” เป็นประกันที่สร้างความอุ่นใจว่า ถ้าเราเกิดเสียชีวิต ภาระหนี้จะไม่ตกอยู่กับลูกหลานหรือครอบครัว “ประกันอัคคีภัยและประกันน้ำท่วม” เป็นประกันที่ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับบ้านที่เรารัก
1. เตรียมความพร้อมเรื่องเงิน
สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงคือ เงินดาวน์ ที่ควรมีอย่างน้อย 10-20% ของราคาบ้าน เพราะธนาคารมักปล่อยกู้ประมาณ 80-90% ของมูลค่าบ้าน ดังนั้น ลองดูว่าบ้านที่ต้องการราคาเท่าไร มีเงินดาวน์บ้านเพียงพอหรือยัง หรือต้องเก็บออมเงินเพิ่มเติม และท่องไว้เลยว่า ยิ่งดาวน์มาก ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยลดดอกเบี้ยได้มหาศาล แถมช่วยให้มีโอกาสกู้บ้านผ่านแบบสบาย ๆ หายห่วงมากขึ้นด้วย
2. ตรวจสอบกำลังการผ่อนของตัวเอง
เมื่อเตรียมพร้อมจะกู้แล้ว ควรรู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการผ่อนแค่ไหน ถ้าให้ดีไม่ควรผ่อนเกิน 35-40% ของรายได้แต่ละเดือน เพราะถ้าเกินกว่านั้น อาจกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกินตัว และกระทบฐานะทางการเงินของตัวเองหรือครอบครัวได้ ดังนั้น ต้องคิดให้ดีก่อนกู้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้ากู้ซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็ควรมีเงินเดือนอย่างน้อย 17,000 บาท และผ่อนบ้านไม่เกินเดือนละ 7,000 บาท
3. เลือกอัตราดอกเบี้ยที่ใช่
ดอกเบี้ยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคิดให้ดี เพราะมีให้เลือกทั้งแบบลอยตัว และแบบคงที่ ถ้าคาดว่า ดอกเบี้ยเป็นช่วงขาขึ้น ควรเลือกกู้เงินแบบดอกเบี้ยคงที่ แต่คาดว่าดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง ควรเลือกกู้เงินเป็นแบบดอกเบี้ยลอยตัว อ่านแล้วอย่าเพิ่งงง ลองหาโปรโมชันดอกเบี้ยที่โดนใจและศึกษาอย่างถี่ถ้วน จะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง แต่ที่สำคัญ ดอกเบี้ยที่จ่ายผ่อนบ้าน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี
4. เตรียมเอกสารให้ครบ
เมื่อเลือกทุกอย่างเรียบร้อย ทั้งบ้านที่ถูกใจ ดอกเบี้ยที่ใช่สำหรับตัวเอง ก็มาถึงขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อ โดยทั่วไปเอกสารหลัก ๆ ที่ต้องใช้ในการกู้ซื้อบ้านคือ สลิปเงินเดือน และบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน สำหรับเจ้าของกิจการ จะใช้เป็นทะเบียนการค้า และบัญชีธนาคารที่มียอดหมุนเวียนย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
5. สร้างภูมิคุ้มกันให้บ้าน
หลังจากกู้บ้านผ่านแล้ว อย่าลืมกันเงินรายได้เพื่อเป็นเงินผ่อนบ้านในแต่ละเดือน และขอแนะนำให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดฝันด้วยการสร้างความคุ้มครองให้กับบ้านผ่านการทำประกัน เช่น “ประกันภาระหนี้สิน” เป็นประกันที่สร้างความอุ่นใจว่า ถ้าเราเกิดเสียชีวิต ภาระหนี้จะไม่ตกอยู่กับลูกหลานหรือครอบครัว “ประกันอัคคีภัยและประกันน้ำท่วม” เป็นประกันที่ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับบ้านที่เรารัก
แหล่งที่มา ธนาคารกสิกรไทย, http://money.kapook.com/view89879.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment