6
ข้อเสียของการเล่นเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่เราอาจนึกไม่ถึง
หรืออาจทำให้บางคนอยากเลิกเล่นเฟซบุ๊กไปเลย มีอะไรบ้าง มาดูกัน
บริการโซเชียลอย่างเฟซบุ๊กนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ให้เราสามารถติดต่อใครต่อใครได้อย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังเป็นดาบสองคมที่หากเราใช้ผิดวิธีก็อาจมีผลเสียและสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเราเองได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำบทความ 6 ข้อเสียของการเล่นเฟซบุ๊ก จากเว็บไซต์ entrepreneur.com ที่หลายท่านอาจนึกไม่ถึงมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งข้อเสียบางอย่างอาจทำให้บางท่านอยากเลิกเล่นเฟซบุ๊กไปเลยก็ได้ แต่จะมีอะไรบ้างนะ มาดูกันเลยดีกว่า
1. ทำให้รู้สึกเหมือนชีวิตตัวเองแย่กว่าคนอื่น
เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็มักชอบโพสต์บอกเล่าเรื่องดี ๆ ในชีวิตของตัวเองมากกว่าที่จะเปิดเผยเรื่องแย่ ๆ ออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ โดยถ้าหากเราเห็นคนอื่นมีความสุขหรือมีชีวิตที่ดีบ่อย ๆ ก็อาจทำให้เรารู้สึกว่าเขามีชีวิตที่ดีกว่าและมีความสุขกว่าเรา จนทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตตัวเองนั้นแย่กว่าคนเหล่านั้น และอาจส่งผลให้เรารู้สึกแย่และพึงพอใจกับชีวิตของตัวเองน้อยลงเรื่อย ๆ อีกด้วย
2. การทำความรู้จักกับคนแปลกหน้าใช่ว่าจะดีเสมอไป
ระบบแนะนำเพื่อนของเฟซบุ๊กที่มักจะแนะนำให้เรารู้จักกับเพื่อนของเพื่อนบนเฟซบุ๊กของเรานั้น จริงอยู่ที่อาจจะช่วยให้เราได้รู้จักคนมากขึ้น รวมทั้งได้เจอเพื่อนเก่า ๆ ที่อาจหายหน้าหายตากันไปนาน แต่นั่นก็เป็นเหมือนดาบสองคม เมื่อเฟซบุ๊กแนะนำบุคคลที่เราไม่ได้ต้องการอยากจะรู้จักหรือพบเจออีก ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเราเลย หรือเพื่อนเก่าที่เราไม่ค่อยชอบหน้า รวมทั้งบรรดานักสแปมแท็กโฆษณาอีกมากมาย
3. ระวังหัวหน้าหรือครูอาจารย์ของเราไว้ให้ดี
หากเราได้เพิ่มหัวหน้างานหรือครูอาจารย์ไว้เป็นเพื่อนบนเฟซบุ๊กแล้ว การโพสต์สเตตัสหรือรูปภาพของคุณอาจมีผลกับหน้าที่การงานหรืออนาคตของคุณก็เป็นได้ เนื่องจากมันสามารถแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของเราได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการอู้งานโพสต์เฟซบุ๊กในเวลาทำงาน หรือโพสต์รูปภาพตอนเที่ยวครื้นเครงกับเพื่อนในคืนก่อนสอบ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหัวหน้าหรืออาจารย์มาเห็นคงจะไม่ปลื้มเป็นแน่แท้
4. โพสต์สเตตัสอัพเดทชีวิตรายวัน อย่าคิดว่าเพื่อนจะสนใจ
เมื่อเราดีใจกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตเรา หรือมีเรื่องอยากเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง แต่เมื่อโพสต์บนเฟซบุ๊กแล้วกลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ โดยในบางครั้งอาจไม่มีใครกดไลค์หรือคอมเมนต์แม้แต่คนเดียวเลยก็เป็นได้ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะเพื่อน ๆ ของเราอาจไม่ได้สนใจหรือดีใจไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราด้วยนั่นเอง แต่เชื่อได้เลยว่าในใจลึก ๆ เราก็ต้องรู้สึกน้อยใจอย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจได้
5. สูบเวลาชีวิต เสียเวลาไปมหาศาล
หลายคนเล่นเฟซบุ๊กจนติดงอมแงม ใช้เวลาวันหนึ่งไปกับเฟซบุ๊กหลายชั่วโมง หรือบางคนอาจเล่นจนลืมเรื่องสำคัญอย่างอื่นในชีวิตที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน หรืออาจลืมแม้กระทั่งการพูดคุยพบปะผู้คนในชีวิตจริง ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวเรียกว่าเสพติดโซเชียล ที่ไม่ส่งผลดีในระยะยาวอย่างแน่นอน จึงควรเล่นแต่พอดี และแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง
6. ประจานตัวเองโดยไม่รู้ตัว
บางครั้งที่เราทำผิดหรือทำเรื่องไม่ดีเอาไว้ แต่รู้สึกผิดหรืออยากสารภาพ เราจึงโพสต์ลงเฟซบุ๊กเพื่อสารภาพหรือขอโทษคนที่เราทำผิดต่อเขา แต่แท้จริงแล้วอาจเป็นการประจานความผิดตัวเองให้สาธารณะรู้โดยไม่จำเป็น จริงอยู่ที่การสำนึกผิดและสารภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่เรื่องบางเรื่องการไม่ประกาศให้คนรู้อาจจะดีกว่า ยิ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องมาอ่านด้วยแล้ว เขาอาจเข้าใจผิดและมองเราในแง่ลบก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นว่าคนเล่นเฟซบุ๊กจะต้องพบกับข้อเสียทั้ง 6 ข้อดังกล่าวนี้เสมอไป หลาย ๆ คนที่เล่นเฟซบุ๊กแล้วได้ใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กและมีชีวิตที่ดีขึ้นอีกมากมายก็มี แต่ไม่ว่าอย่างไร การเล่นเฟซบุ๊กอย่างมีสติ คิดก่อนโพสต์ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะจ๊ะ
บริการโซเชียลอย่างเฟซบุ๊กนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ให้เราสามารถติดต่อใครต่อใครได้อย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังเป็นดาบสองคมที่หากเราใช้ผิดวิธีก็อาจมีผลเสียและสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเราเองได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำบทความ 6 ข้อเสียของการเล่นเฟซบุ๊ก จากเว็บไซต์ entrepreneur.com ที่หลายท่านอาจนึกไม่ถึงมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งข้อเสียบางอย่างอาจทำให้บางท่านอยากเลิกเล่นเฟซบุ๊กไปเลยก็ได้ แต่จะมีอะไรบ้างนะ มาดูกันเลยดีกว่า
1. ทำให้รู้สึกเหมือนชีวิตตัวเองแย่กว่าคนอื่น
เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็มักชอบโพสต์บอกเล่าเรื่องดี ๆ ในชีวิตของตัวเองมากกว่าที่จะเปิดเผยเรื่องแย่ ๆ ออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ โดยถ้าหากเราเห็นคนอื่นมีความสุขหรือมีชีวิตที่ดีบ่อย ๆ ก็อาจทำให้เรารู้สึกว่าเขามีชีวิตที่ดีกว่าและมีความสุขกว่าเรา จนทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตตัวเองนั้นแย่กว่าคนเหล่านั้น และอาจส่งผลให้เรารู้สึกแย่และพึงพอใจกับชีวิตของตัวเองน้อยลงเรื่อย ๆ อีกด้วย
2. การทำความรู้จักกับคนแปลกหน้าใช่ว่าจะดีเสมอไป
ระบบแนะนำเพื่อนของเฟซบุ๊กที่มักจะแนะนำให้เรารู้จักกับเพื่อนของเพื่อนบนเฟซบุ๊กของเรานั้น จริงอยู่ที่อาจจะช่วยให้เราได้รู้จักคนมากขึ้น รวมทั้งได้เจอเพื่อนเก่า ๆ ที่อาจหายหน้าหายตากันไปนาน แต่นั่นก็เป็นเหมือนดาบสองคม เมื่อเฟซบุ๊กแนะนำบุคคลที่เราไม่ได้ต้องการอยากจะรู้จักหรือพบเจออีก ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเราเลย หรือเพื่อนเก่าที่เราไม่ค่อยชอบหน้า รวมทั้งบรรดานักสแปมแท็กโฆษณาอีกมากมาย
3. ระวังหัวหน้าหรือครูอาจารย์ของเราไว้ให้ดี
หากเราได้เพิ่มหัวหน้างานหรือครูอาจารย์ไว้เป็นเพื่อนบนเฟซบุ๊กแล้ว การโพสต์สเตตัสหรือรูปภาพของคุณอาจมีผลกับหน้าที่การงานหรืออนาคตของคุณก็เป็นได้ เนื่องจากมันสามารถแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของเราได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการอู้งานโพสต์เฟซบุ๊กในเวลาทำงาน หรือโพสต์รูปภาพตอนเที่ยวครื้นเครงกับเพื่อนในคืนก่อนสอบ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหัวหน้าหรืออาจารย์มาเห็นคงจะไม่ปลื้มเป็นแน่แท้
4. โพสต์สเตตัสอัพเดทชีวิตรายวัน อย่าคิดว่าเพื่อนจะสนใจ
เมื่อเราดีใจกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตเรา หรือมีเรื่องอยากเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง แต่เมื่อโพสต์บนเฟซบุ๊กแล้วกลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ โดยในบางครั้งอาจไม่มีใครกดไลค์หรือคอมเมนต์แม้แต่คนเดียวเลยก็เป็นได้ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะเพื่อน ๆ ของเราอาจไม่ได้สนใจหรือดีใจไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราด้วยนั่นเอง แต่เชื่อได้เลยว่าในใจลึก ๆ เราก็ต้องรู้สึกน้อยใจอย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจได้
5. สูบเวลาชีวิต เสียเวลาไปมหาศาล
หลายคนเล่นเฟซบุ๊กจนติดงอมแงม ใช้เวลาวันหนึ่งไปกับเฟซบุ๊กหลายชั่วโมง หรือบางคนอาจเล่นจนลืมเรื่องสำคัญอย่างอื่นในชีวิตที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน หรืออาจลืมแม้กระทั่งการพูดคุยพบปะผู้คนในชีวิตจริง ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวเรียกว่าเสพติดโซเชียล ที่ไม่ส่งผลดีในระยะยาวอย่างแน่นอน จึงควรเล่นแต่พอดี และแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง
6. ประจานตัวเองโดยไม่รู้ตัว
บางครั้งที่เราทำผิดหรือทำเรื่องไม่ดีเอาไว้ แต่รู้สึกผิดหรืออยากสารภาพ เราจึงโพสต์ลงเฟซบุ๊กเพื่อสารภาพหรือขอโทษคนที่เราทำผิดต่อเขา แต่แท้จริงแล้วอาจเป็นการประจานความผิดตัวเองให้สาธารณะรู้โดยไม่จำเป็น จริงอยู่ที่การสำนึกผิดและสารภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่เรื่องบางเรื่องการไม่ประกาศให้คนรู้อาจจะดีกว่า ยิ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องมาอ่านด้วยแล้ว เขาอาจเข้าใจผิดและมองเราในแง่ลบก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นว่าคนเล่นเฟซบุ๊กจะต้องพบกับข้อเสียทั้ง 6 ข้อดังกล่าวนี้เสมอไป หลาย ๆ คนที่เล่นเฟซบุ๊กแล้วได้ใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กและมีชีวิตที่ดีขึ้นอีกมากมายก็มี แต่ไม่ว่าอย่างไร การเล่นเฟซบุ๊กอย่างมีสติ คิดก่อนโพสต์ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะจ๊ะ
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/318066792406164667/
No comments:
Post a Comment