Sunday, May 22, 2016

คุมความดันฯ ง่ายๆ ด้วยตนเอง




ทุกวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดให้เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคดังกล่าว

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื่องจากสิติองค์การอนามัยโลกพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงึง 1,000 ล้านคน  ทำให้เป็นสาเหตสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนทั่วโลก  สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบอัตราการป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มข้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่ากังวล คือ จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงร้อยละ 60 ในเพศชาย และร้อยละ 40 ในเพศหญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้จะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในช่วงแรก แต่จะมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ซึ่งค่าความดันปกติ ถือเอาค่าตัวบนน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท

หากค่าดังกล่าวสูงเกินกำหนดต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษา แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่ออวัยวะในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ลดความเร็วการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวาย เส้นเลือดสมองอุดตัน/แตก (Stroke) ทำให้เกิดความพิการหรืออัมพาตได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทำให้การทำงานของไตล้มเหลวหรือที่เรียกว่าภาวะไตวาย

อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ความดันโลหิตสูงสามารควบคุมหรือป้องกันให้อยู่ในภาวะปกติได้ด้วยการควบคุมอาหารที่มีผลต่อความดันโลหิต ซึ่งอาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง จึงควรลดการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการอาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋องและอาหารขยะ (junk food) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมถุง แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไส้กรอก เป็นต้น ลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่หวานน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว กล้วย ส้ม แตงโม ควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด การออกกำลังกายโดยใช้แรงในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นบันไดแทนลิฟท์ การเดินไปตลาด ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ทำสวน ฯลฯ จะสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ดี


ในกรณีผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่บริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน กินของหวาน มัน เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้น้อย ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และมีภาวะเครียด รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองอยู่เสมอ ด้วยการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอตลอดจนวัดความดันโลหิตเป็นประจำพร้อมจดบันทึก ใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติ


ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
http://www.thaihealth.or.th/Content/31378-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AF%20%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%20%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.html
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/483011128761338295/

No comments:

Post a Comment