มะม่วง ผลไม้ยอดฮิตที่นิยมบริโภคตลอดปี ไม่ว่าจะบ้านไหน เรือนไหนก็นิยมปลูกกันไว้ในรั้วบ้าน มะม่วงนอกจากจะนำมารับประทานได้หลายรูปแบบแล้วยังเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ส่วนอื่นๆ ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ อาทิ ใบ ดอกมะม่วง มีวิตามินเอและซีสูง และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีก เรียกได้ว่า มะม่วงลูกหนึ่งมีสารอาหารเกือบครบเลยทีเดียว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาจหายไปได้โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะมะม่วงก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากเหมือนกัน
ชื่ออื่น ขุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) แป (ละว้า-เชียงใหม่) โคกแล้ะ (ละว้า-กาญจนบุรี) เจาะ ช้อก ซ้อก (ชอง-จันทบุรี) เปา (มลายู-ภาคใต้) สะวาย (เขมร) ส่าเคาะส่า สะเคาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะม่วงบ้าน (ทั่วไป) มะม่วงสวน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica Linn.
วงศ์ ANACARDIACEAE
ลักษณะ มะม่วงเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง เปลือกต้นหนาสีเทาขรุขระแตกเป็นเกร็ดๆ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมาย
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ลักษณะของใบเรียวแหลม คล้ายรูปหอก กว้าง 2-9 ซ.ม. ยาว 10-30 ซ.ม. ใบหนารอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก แต่ละช่อมีดอกย่อยถึง 3000 ดอก มีสีเหลืองอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอก 5 กลีบ
ผล มีรูปร่างคล้ายรูปไต ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองและรสหวาน หนึ่งผลมีเมล็ดเดียว ลักษณะแบน เป็นรูปไข่รีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้ เมล็ด ผล ใบ เปลือกลำต้น
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
เมล็ดสด ๆ มารับประทาน หรือนำมาโรยเกลือ รับประทานเพื่อขับปัสสาวะหรือแก้บวมน้ำ เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วงผลมะม่วง นำมาคั้นรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะหรือร้อนใน แก้คลื่นไส้ แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร
ใบมะม่วง นำมาพอประมาณต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้ลำไส้อักเสบ หรือใช้ใบสดๆ ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลสด จะเป็นยาสมานแผลสดได้ดีที่เดียว
เปลือกลำต้นมะม่วง ใช้เปลือกสดๆ มาต้มรับประทานเป็นยาแก้โรคคอตีบ เยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ
คุณค่าทางอาหาร
มะม่วงดิบมักออกรสเปรี้ยว เอาไปทำของคาวได้หลายอย่าง ที่เห็นบ่อยมากคือ นำไปจิ้มน้ำพริก ใช้ยำ หรือผสมอาหารที่มีรสเปรี้ยวแทนมะนาว เช่น ยำมะม่วง น้ำพริก ต้มยำในส่วนที่นำไปเป็นของว่างนั้น มะม่วงดิบรับประทานเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน เมี่ยงส้ม มะม่วงสุกที่มีรสหวาน นำมารับประทานกับข้าวเหนียว กวนเป็นแผ่น หรือนำมาคั้นเป็นน้ำผลไม้
มะม่วงอุดมด้วยฟอสฟอรัส และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันไม่ให้เปราะหักง่าย นอกจากนั้นยังมีวิตามินซีอยู่ในปริมาณมาก ช่วนเสริมสร้างภูมิคุ้นกันให้แข็งแรง ป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคหวัด และมีวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 67 แคลอรี่
โปรตีน 0.5 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม
ใยอาหาร 2.4 กรัม
แคลเซียม 14.00 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม
เหล็ก มีน้อยมาก
เบต้าแคโรทีน 37 ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2 0.02 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 0.2 มิลลิกรัม
วิตามีนซี 35 มิลลิกรัม
ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย น.ส.อมรรัตน์ รอดเรืองฤทธิ์
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/208262
No comments:
Post a Comment