ฟาสต์ฟู้ด
(FASTFOOD)
หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันว่า "อาหารจานด่วน" เป็นคำที่ชาวอเมริกันคิดกันขึ้นมาไว้สำหรับเรียกอาหารหรือขนมทั้งประเภทกินอิ่มหรือกินเล่นเป็นอาหารว่าง โดยมีการเตรียมและปรุงไว้จนสำเร็จรูปหรือเกือบสำเร็จรูปแล้วสามารถรับประทานได้เลยทันที หรือใช้เวลาสำหรับกรรมวิธีขั้นสุดท้ายก่อนรับประทานอาหารเพียงแค่ไม่กี่นาที
ผู้บริโภคสามารถที่จะนั่งกินในร้านหรือนำออกไปกินนอกร้านก็ได้ สรุปง่ายๆ สไตล์อเมริกัน
ก็คือ อาหารหรือขนมที่สั่งเร็ว ได้เร็ว กินเร็ว สะอาด และราคาไม่แพงจนเกินไป
ฟาสต์ฟู้ด
มี 2 ประเภทคือ
1. FULL
MEAL FASTFOOD
เป็นประเภทกินอิ่ม
ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาหารประเภทแป้ง เนื้อสัตว์และผัก
2. SNACK
FASTFOOD
เป็นประเภทอาหารกึ่งขนม
เช่น ไอศกรีม ขนมเค้ก โดนัท เป็นต้น
จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยโภชนาการพบว่า
ในอาหารฟาสต์ฟู้ดมีคุณค่าสารอาหารของแร่ธาตุต่าง ๆ ค่อนข้างต่ำถึงต่ำมากโดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส มีส่วนประกอบของกากใยอาหารน้อย บางชนิดมีเกลือโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้อาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่จะมีปริมาณไขมันที่สูงและมีส่วนประกอบของโปรตีนที่ไม่เหมาะสม ทำให้อาหารเหล่านี้มีพลังงานมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ผลเสีย ของการรับประทานมากเกินไปและเป็นระยะเวลานานคือ
1. เสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก โรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ เนื่องจากมีกากใยอาหารน้อย
2. เกิดการสะสมของไขมันและมีไขมันในเลือดสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือดและความดันโลหิตสูง
3. เนื่องจากเป็นอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มะเร็งที่กระเพาะอาหาร และทำให้ไตต้องทำงานหนัก
ข้อควรปฏิบัติ
ในการเลือกกินอาหารฟาสต์ฟู้ด คือ
1. อย่ารับประทานเป็นอาหารว่างหรือขนมเพราะอาหารฟาสต์ฟู้ดมีแคลอรี่เทียบเท่าหรือมากกว่าอาหารเต็มมื้อ
2. เลือกขนาดเสิร์ฟก่อนรับประทานอาหารและรับประทานให้น้อยลง
3. ผู้ที่ควบคุมอาหารเค็มหรืออาหารที่มีไขมันมาก ให้ระมัดระวังในการสั่ง เช่นอาจสั่งโดยไม่ต้องใส่เกลือหรือไม่ต้องใส่เนย เป็นต้น
4. ไม่ควรรับประทานเกินสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง
คราวนี้ ก็คงจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคทุกท่านที่จะพิจารณาว่าจะรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดกันอยู่อีกหรือเปล่านะคะ..
แหล่งที่มา http://www.srbr.in.th/Health/Fastfood.htm
No comments:
Post a Comment