แปะก๊วย
สมุนไพรจากเมืองจีน สรรพคุณล้ำค่า ถ้าได้รู้แล้วต้องอยากลอง
ถ้าจะให้ไล่ชื่อของสมุนไพรจีนที่ดีมีคุณค่าช่วยในการบำรุงสุขภาพ แน่นอนเลยล่ะว่านึกกันไม่หวาดไม่ไหวแน่ แต่ถ้าพูดถึงสมุนไพรจีนที่ช่วยบำรุงสมอง หลายคนคงนึกถึง "แปะก๊วย" เพราะเคยได้ยินคำโฆษณา หรืองานวิจัยที่บอกถึงสรรพคุณเด่นข้อนี้ แต่ความจริงแล้ว แปะก๊วย มีส่วนช่วยบำรุงสมองจริงหรือ และมีสรรพคุณอื่น ๆ อะไรบ้าง ลองมาดูข้อมูลที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันค่ะ
แปะก๊วย หรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ginkgo biloba เป็นสมุนไพรที่มีมาตั้งแต่โบราณ ว่ากันว่าเป็นพืชโบราณที่มีความเป็นมาตั้งแต่ 270 ล้านปีก่อน โดยเจ้าสมุนไพรชนิดนี้มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และถูกนำมาใช้ในแพทย์แผนจีนติดต่อกันมายาวนานกว่า 5,000 ปี ในอดีต แพทย์แผนจีนจะนิยมนำแปะก๊วยมาใช้ในการบำบัดอาการไอ หืด และภาวะภูมิแพ้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วส่วนที่นิยมนำมาสกัดหรือใช้ในการรักษาโรคมากที่สุดคือ ส่วนของใบ แต่คนก็นิยมนำเมล็ดของแปะก๊วยมาเป็นส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น ขนมหวาน หรือบะจ่าง
ถ้าจะให้ไล่ชื่อของสมุนไพรจีนที่ดีมีคุณค่าช่วยในการบำรุงสุขภาพ แน่นอนเลยล่ะว่านึกกันไม่หวาดไม่ไหวแน่ แต่ถ้าพูดถึงสมุนไพรจีนที่ช่วยบำรุงสมอง หลายคนคงนึกถึง "แปะก๊วย" เพราะเคยได้ยินคำโฆษณา หรืองานวิจัยที่บอกถึงสรรพคุณเด่นข้อนี้ แต่ความจริงแล้ว แปะก๊วย มีส่วนช่วยบำรุงสมองจริงหรือ และมีสรรพคุณอื่น ๆ อะไรบ้าง ลองมาดูข้อมูลที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันค่ะ
แปะก๊วย หรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ginkgo biloba เป็นสมุนไพรที่มีมาตั้งแต่โบราณ ว่ากันว่าเป็นพืชโบราณที่มีความเป็นมาตั้งแต่ 270 ล้านปีก่อน โดยเจ้าสมุนไพรชนิดนี้มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และถูกนำมาใช้ในแพทย์แผนจีนติดต่อกันมายาวนานกว่า 5,000 ปี ในอดีต แพทย์แผนจีนจะนิยมนำแปะก๊วยมาใช้ในการบำบัดอาการไอ หืด และภาวะภูมิแพ้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วส่วนที่นิยมนำมาสกัดหรือใช้ในการรักษาโรคมากที่สุดคือ ส่วนของใบ แต่คนก็นิยมนำเมล็ดของแปะก๊วยมาเป็นส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น ขนมหวาน หรือบะจ่าง
แปะก๊วย สรรพคุณล้ำเลิศ ประโยชน์ดี ๆ ทั้งในเมล็ดและใบ
ด้วยสรรพคุณและประโยชน์อันมากมายที่มีอยู่ในตัวของเมล็ดแปะก๊วย และใบแปะก๊วย จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นแปะก๊วยถูกแปลงร่างมาเป็นทั้งของกินและอาหาร เสริมเพื่อสุขภาพ แต่ว่าสรรพคุณของแปะก๊วยที่โดดเด่นมีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลยค่ะ
ลดระดับคอเลสเตอรอล
เมล็ดแปะก๊วยมีสรรพคุณในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรล โดยการศึกษาในปี 2008 จาก Food Research International พบว่าไขมันที่สามารถละลายน้ำได้ที่อยู่ในเมล็ดแปะก๊วย มีส่วนสำคัญในการลดระดับคอเลสเตอรอลในตับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
เมล็ดแปะก๊วยเป็นแหล่งสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ถึงแม้ว่าจะนำเมล็ดแปะก๊วยไปปรุงจนสุกแล้วก็ยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลือ อยู่ถึง 60% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ๆ ค่ะ
ด้วยสรรพคุณและประโยชน์อันมากมายที่มีอยู่ในตัวของเมล็ดแปะก๊วย และใบแปะก๊วย จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นแปะก๊วยถูกแปลงร่างมาเป็นทั้งของกินและอาหาร เสริมเพื่อสุขภาพ แต่ว่าสรรพคุณของแปะก๊วยที่โดดเด่นมีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลยค่ะ
ลดระดับคอเลสเตอรอล
เมล็ดแปะก๊วยมีสรรพคุณในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรล โดยการศึกษาในปี 2008 จาก Food Research International พบว่าไขมันที่สามารถละลายน้ำได้ที่อยู่ในเมล็ดแปะก๊วย มีส่วนสำคัญในการลดระดับคอเลสเตอรอลในตับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
เมล็ดแปะก๊วยเป็นแหล่งสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ถึงแม้ว่าจะนำเมล็ดแปะก๊วยไปปรุงจนสุกแล้วก็ยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลือ อยู่ถึง 60% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ๆ ค่ะ
มีวิตามินและแร่ธาตุสูง
เราสามารถพบวิตามินบีชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น ริโบฟลาวิน ไนอะซิน ไทอามีน กรดแพนโทเทนิก โฟเลตและวิตามินบี 6 ซึ่งเป็นวิตามินบีที่ดีต่อร่างกายได้ในเมล็ดแปะก๊วย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุดี ๆ อย่าง แมงกานีส โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี และเซเรเนียมสะสมอยู่ในเมล็ดแปะก๊วยอีกไม่น้อยเลย โดยเฉพาะทองแดงที่เป็นแร่ธาตุอันมีความสำคัญต่อสารสื่อประสาท และระบบเผาผลาญ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดง
แคลอรีต่ำ
เมื่อเทียบกับวอลนัทและอัลมอนด์แล้ว เมล็ดแปะก๊วยถือเป็นอาหารที่มีแคลอรีไม่สูงมากนั้น เพราะเมล็ดแปะก๊วย 100 กรัม มีปริมาณแคลอรีอยู่ที่ 182แคลอรี ทำให้สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามการรับประทานมากไปอาจจะส่งผลไม่พึงประสงค์ได้
รักษาโรคซึมเศร้า
มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับ ประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งก็มีจิตแพทย์จำนวนไม่น้อยที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารับประทาน สารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ แต่สารสกัดนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าหากใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะให้ผลดีเทียบเท่ากับผู้ป่วยในวัยสูงอายุหรือไม่
เราสามารถพบวิตามินบีชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น ริโบฟลาวิน ไนอะซิน ไทอามีน กรดแพนโทเทนิก โฟเลตและวิตามินบี 6 ซึ่งเป็นวิตามินบีที่ดีต่อร่างกายได้ในเมล็ดแปะก๊วย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุดี ๆ อย่าง แมงกานีส โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี และเซเรเนียมสะสมอยู่ในเมล็ดแปะก๊วยอีกไม่น้อยเลย โดยเฉพาะทองแดงที่เป็นแร่ธาตุอันมีความสำคัญต่อสารสื่อประสาท และระบบเผาผลาญ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดง
แคลอรีต่ำ
เมื่อเทียบกับวอลนัทและอัลมอนด์แล้ว เมล็ดแปะก๊วยถือเป็นอาหารที่มีแคลอรีไม่สูงมากนั้น เพราะเมล็ดแปะก๊วย 100 กรัม มีปริมาณแคลอรีอยู่ที่ 182แคลอรี ทำให้สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามการรับประทานมากไปอาจจะส่งผลไม่พึงประสงค์ได้
รักษาโรคซึมเศร้า
มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับ ประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งก็มีจิตแพทย์จำนวนไม่น้อยที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารับประทาน สารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ แต่สารสกัดนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าหากใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะให้ผลดีเทียบเท่ากับผู้ป่วยในวัยสูงอายุหรือไม่
อาจช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
มีการวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลดีต่อการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ สร้างเสริมกระบวนการการคิด และช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ก็ยังมีผลวิจัยบางส่วนที่แย้งข้อมูลข้างต้น โดยชี้ว่า "ใบแปะก๊วย" อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ส่วนงานวิจัยที่ระบุว่า "ใบแปะก๊วย" ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ "ใบแปะก๊วย"
เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
ในรายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยได้ เพราะ สารสกัดนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50%
รักษาโรคเรย์นาร์ด
โรคเรย์นาร์ดเกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ปลายมือตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ปลายมือได้สะดวก ลดปลายมือชา หรือเขียวคล้ำเมื่อสัมผัสกับความเย็น
รักษาอาการเบาหวานขึ้นตา
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการเบาหวานขึ้นตาสามารถส่งผลให้การมองเห็นแย่ลง เนื่องจากน้ำตาลในเลือดนั้นจะเข้าไปทำลายหลอดเลือดภายในดวงตา ซึ่งการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยให้การมองเห็นสีสันของผู้ป่วยเบา หวานดีขึ้นค่ะ
บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
ภาวะการขาดฮอร์โมนโดปามีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสั่นและการสูญเสียความสามารถในการควบคุม กล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากโรคพาร์กินสันแต่สารสกัดจากแปะก๊วยนั้นจะเข้าไป ช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ทำให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น และนำส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ
รักษาอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง
กลุ่มอาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการที่สาว ๆ เท่านั้นที่รู้ดีที่สุด โดยสารสกัดจากแปะก๊วยนั้นสามารถบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก และคัดเต้านมที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ด้วย
นอกจากนี้ในแพทย์แผนจีนยังมีการนำเมล็ดแปะก๊วยมาใช้ เพราะเชื่อว่าเมล็ดแปะก๊วยมีฤทธิ์ร้อนช่วยในการบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับการ หายใจ สามารถช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และโรคระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการใช้ในปริมาณมากนั้นอาจะได้รับผลเสียที่อันตรายแทนได้ค่ะ
มีการวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลดีต่อการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ สร้างเสริมกระบวนการการคิด และช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ก็ยังมีผลวิจัยบางส่วนที่แย้งข้อมูลข้างต้น โดยชี้ว่า "ใบแปะก๊วย" อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ส่วนงานวิจัยที่ระบุว่า "ใบแปะก๊วย" ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ "ใบแปะก๊วย"
เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
ในรายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยได้ เพราะ สารสกัดนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50%
รักษาโรคเรย์นาร์ด
โรคเรย์นาร์ดเกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ปลายมือตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ปลายมือได้สะดวก ลดปลายมือชา หรือเขียวคล้ำเมื่อสัมผัสกับความเย็น
รักษาอาการเบาหวานขึ้นตา
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการเบาหวานขึ้นตาสามารถส่งผลให้การมองเห็นแย่ลง เนื่องจากน้ำตาลในเลือดนั้นจะเข้าไปทำลายหลอดเลือดภายในดวงตา ซึ่งการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยให้การมองเห็นสีสันของผู้ป่วยเบา หวานดีขึ้นค่ะ
บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
ภาวะการขาดฮอร์โมนโดปามีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสั่นและการสูญเสียความสามารถในการควบคุม กล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากโรคพาร์กินสันแต่สารสกัดจากแปะก๊วยนั้นจะเข้าไป ช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ทำให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น และนำส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ
รักษาอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง
กลุ่มอาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการที่สาว ๆ เท่านั้นที่รู้ดีที่สุด โดยสารสกัดจากแปะก๊วยนั้นสามารถบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก และคัดเต้านมที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ด้วย
นอกจากนี้ในแพทย์แผนจีนยังมีการนำเมล็ดแปะก๊วยมาใช้ เพราะเชื่อว่าเมล็ดแปะก๊วยมีฤทธิ์ร้อนช่วยในการบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับการ หายใจ สามารถช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และโรคระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการใช้ในปริมาณมากนั้นอาจะได้รับผลเสียที่อันตรายแทนได้ค่ะ
คัดบทความบางส่วนมาจาก http://health.kapook.com/view126836.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Livestrong.com
nutrition-and-you.com
herbwisdom.com
webmd.com
ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Livestrong.com
nutrition-and-you.com
herbwisdom.com
webmd.com
เครดิตภาพ http://pharmblog.kku.ac.th/index.php/9-uncategorised/92-2014-02-09-14-51-23
No comments:
Post a Comment