ในร่างกายของเรามีนาฬิกาชีวิต ที่คอยบอกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง
ๆ ตั้งแต่ตื่นนอน แปรงฟัน อาบน้ำ และรับประทานอาหารเช้า ไปจนกระทั่งเอนกายลงนอนพักผ่อนบนเตียงอีกครั้ง
ซึ่งเหตุผลที่ร่างกายต้องแบ่งจังหวะเวลาอย่างนั้น ก็เพื่อให้เราได้รับประโยชน์จากสิ่งที่กำลังทำ
ณ ขณะนั้นอย่างเต็มที่
และใครที่เคยได้ยินเรื่องนาฬิกาชีวิตมาบ้าง แต่ยังไม่เคยรู้ชัด ๆ ว่าช่วงเวลาไหน ควรให้ร่างกายได้ทำกิจกรรมอะไร วันนี้เราก็อาสานำข้อมูลดี ๆ จาก เว็บไซต์พรีเวนชั่น มาฝากค่ะ แต่ละช่วงของวันเราควรให้ร่างกายได้ทำอะไรบ้าง มาดูกันเลย
1. 10.00-11.00 น. ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการคิด
ช่วงเวลา 10.00-11.00 น. และ 20.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่สมองจะตื่นตัวอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วงเวลานี้จึงควรทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดทุกชนิด หรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเยอะ ๆ และอย่ามัวรีรอนะคะ เพราะสมองเราตื่นตัวแค่เพียง 1 ชั่วโมงต่อครั้งเท่านั้นเอง
2. บ่าย 2 แอบงีบสั้น ๆ
ช่วงเวลาของการง่วงนอนแบบสุดขีดที่มักจะเกิดในช่วงเช้ามืดของเรา มีสิทธิ์เกิดในตอนบ่าย ๆ หลังมื้อกลางวันได้เหมือนกัน ดังนั้นหากคุณได้งีบหลับสักระยะ ตั้งแต่ช่วง 13.00–15.00 น. ร่างกายจะรู้สึกสดชื่นตื่นตัวไปได้อีก 2-3 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ หรือถ้าไม่มีเวลานานขนาดนั้น จะงีบหลับสั้น ๆ สัก 10 นาทีก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่สามารถหาเวลางีบได้จริง ๆ ในมื้อกลางวัน ควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนเยอะ ๆ เพื่อให้โปรตีนเข้าไปกระตุ้นความตื่นตัวของสมอง เราจะได้ไม่ง่วงนอนในช่วงบ่าย
นอกจากนี้ในช่วงเวลาหลังมื้ออาหารกลางวัน ยังเหมาะจะดื่มกาแฟ และรับคาเฟอีนเข้าร่างกายอีกด้วย แต่ระวังอย่าดื่มกาแฟในช่วงบ่ายเกิน 2 แก้วนะจ๊ะ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนในกาแฟแก้วเดียว ก็ทำให้เราสดชื่นได้นานถึง 7 ชั่วโมงเลยทีเดียว
และใครที่เคยได้ยินเรื่องนาฬิกาชีวิตมาบ้าง แต่ยังไม่เคยรู้ชัด ๆ ว่าช่วงเวลาไหน ควรให้ร่างกายได้ทำกิจกรรมอะไร วันนี้เราก็อาสานำข้อมูลดี ๆ จาก เว็บไซต์พรีเวนชั่น มาฝากค่ะ แต่ละช่วงของวันเราควรให้ร่างกายได้ทำอะไรบ้าง มาดูกันเลย
1. 10.00-11.00 น. ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการคิด
ช่วงเวลา 10.00-11.00 น. และ 20.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่สมองจะตื่นตัวอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วงเวลานี้จึงควรทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดทุกชนิด หรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเยอะ ๆ และอย่ามัวรีรอนะคะ เพราะสมองเราตื่นตัวแค่เพียง 1 ชั่วโมงต่อครั้งเท่านั้นเอง
2. บ่าย 2 แอบงีบสั้น ๆ
ช่วงเวลาของการง่วงนอนแบบสุดขีดที่มักจะเกิดในช่วงเช้ามืดของเรา มีสิทธิ์เกิดในตอนบ่าย ๆ หลังมื้อกลางวันได้เหมือนกัน ดังนั้นหากคุณได้งีบหลับสักระยะ ตั้งแต่ช่วง 13.00–15.00 น. ร่างกายจะรู้สึกสดชื่นตื่นตัวไปได้อีก 2-3 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ หรือถ้าไม่มีเวลานานขนาดนั้น จะงีบหลับสั้น ๆ สัก 10 นาทีก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่สามารถหาเวลางีบได้จริง ๆ ในมื้อกลางวัน ควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนเยอะ ๆ เพื่อให้โปรตีนเข้าไปกระตุ้นความตื่นตัวของสมอง เราจะได้ไม่ง่วงนอนในช่วงบ่าย
นอกจากนี้ในช่วงเวลาหลังมื้ออาหารกลางวัน ยังเหมาะจะดื่มกาแฟ และรับคาเฟอีนเข้าร่างกายอีกด้วย แต่ระวังอย่าดื่มกาแฟในช่วงบ่ายเกิน 2 แก้วนะจ๊ะ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนในกาแฟแก้วเดียว ก็ทำให้เราสดชื่นได้นานถึง 7 ชั่วโมงเลยทีเดียว
3. เข้านอนในเวลาเดิมเป็นประจำ
การนอนหลับไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมาก แค่นอนหลังจากรับประทานอาหารเย็นไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง และพยายามนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงต่อวัน รวมทั้งถ้าเป็นไปได้ ควรฝึกให้ร่างกายเข้านอนในเวลาเดิมเป็นประจำทุกคืน และตื่นในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อส่งเสริมให้นาฬิกาชีวิต ซึ่งควบคุมเซลล์ประสาทถึง 20,000 เซลล์ทำงานอย่างเป็นระบบ
เพราะเมื่อนาฬิกาชีวิตไม่ปรวนแปร ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ก็มีโอกาสเกิดกับร่างกายเราน้อยมาก หนำซ้ำคนที่นอนหลับอย่างเพียงพออยู่เสมอ ยังลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และลดอารมณ์ปรวนแปรได้ด้วย แต่ถ้านอนไม่พอบ่อย ๆ ร่างกายจะเกิดภาวะย่อยอาหารยาก เสี่ยงน้ำหนักเกิน โรคมะเร็ง สภาวะจิตใจไม่เต็มร้อย และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกเพียบเลยล่ะ
4. ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ ต้องดื่มก่อนเข้านอน
สำหรับนักปาร์ตี้ทั้งหลายที่รู้สึกว่าร่างกายต้องการแอลกอฮอล์ ควรจะดื่มแอลกอฮอล์พร้อมมื้อเย็น ซึ่งต้องกินก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้เวลาร่างกายได้ย่อยทั้งอาหาร และแอลกอฮอล์ให้ได้มากที่สุด ลดความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน และอาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
นอกจากนี้ก็ไม่ควรกินอาหารเย็นมากเกินไปด้วย เพราะการรับประทานอาหารอิ่มจัด จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ลำบาก ส่งผลให้คุณนอนหลับไม่สบาย และมีโอกาสฝันร้ายสูงด้วยค่ะ
5. กินวิตามินเสริมร่วมกับมื้ออาหาร
ใครที่มีวิตามินเสริมสำหรับบำรุงร่างกายสารพัดชนิด ควรจะรับประทานวิตามิน และอาหารเสริมเหล่านี้ร่วมกับมื้ออาหาร จะแบ่งกินกับมื้ออาหารไหนก็ได้ เพราะในขณะที่ร่างกายต้องทำการย่อยอาหาร ก็จะสามารถย่อยวิตามิน และอาหารเสริมทุกชนิดในเวลาเดียวกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าร่างกายจะเปิดรับการดูดซึมทั้งสารอาหาร และวิตามินได้ในเวลานี้นั่นเอง
6. ยาคุมกำเนิด ควรกินก่อนนอน
คนที่กำลังคุมกำเนิดอยู่ด้วยวิธีการกินยา แนะนำว่าให้กินยาคุมกำเนิดตอนก่อนนอน เพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงจากยา เช่น อาการเวียนหัว หรืออาเจียน ที่จะตามมา
7. ช่วงเช้า ๆ ทำคาร์ดิโอ
ช่วงเช้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอที่สุด เนื่องจากการออกกำลังกายแบบนี้ จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว และทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นได้ง่าย ๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายในช่วงเช้า ยังช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพราะร่างกายจะดึงเอาพลังงานที่ตกค้างมาเบิร์น
แต่ทั้งนี้ก็อย่าออกกำลังกายทั้ง ๆ ที่ท้องว่างนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะวูบได้ อย่างน้อยรับประทานอาหารเบา ๆ ก่อนออกกำลังกายสัก 30 นาทีก็ยังดีค่ะ
การนอนหลับไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมาก แค่นอนหลังจากรับประทานอาหารเย็นไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง และพยายามนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงต่อวัน รวมทั้งถ้าเป็นไปได้ ควรฝึกให้ร่างกายเข้านอนในเวลาเดิมเป็นประจำทุกคืน และตื่นในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อส่งเสริมให้นาฬิกาชีวิต ซึ่งควบคุมเซลล์ประสาทถึง 20,000 เซลล์ทำงานอย่างเป็นระบบ
เพราะเมื่อนาฬิกาชีวิตไม่ปรวนแปร ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ก็มีโอกาสเกิดกับร่างกายเราน้อยมาก หนำซ้ำคนที่นอนหลับอย่างเพียงพออยู่เสมอ ยังลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และลดอารมณ์ปรวนแปรได้ด้วย แต่ถ้านอนไม่พอบ่อย ๆ ร่างกายจะเกิดภาวะย่อยอาหารยาก เสี่ยงน้ำหนักเกิน โรคมะเร็ง สภาวะจิตใจไม่เต็มร้อย และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกเพียบเลยล่ะ
4. ถ้าจะดื่มแอลกอฮอล์ ต้องดื่มก่อนเข้านอน
สำหรับนักปาร์ตี้ทั้งหลายที่รู้สึกว่าร่างกายต้องการแอลกอฮอล์ ควรจะดื่มแอลกอฮอล์พร้อมมื้อเย็น ซึ่งต้องกินก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้เวลาร่างกายได้ย่อยทั้งอาหาร และแอลกอฮอล์ให้ได้มากที่สุด ลดความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน และอาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
นอกจากนี้ก็ไม่ควรกินอาหารเย็นมากเกินไปด้วย เพราะการรับประทานอาหารอิ่มจัด จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ลำบาก ส่งผลให้คุณนอนหลับไม่สบาย และมีโอกาสฝันร้ายสูงด้วยค่ะ
5. กินวิตามินเสริมร่วมกับมื้ออาหาร
ใครที่มีวิตามินเสริมสำหรับบำรุงร่างกายสารพัดชนิด ควรจะรับประทานวิตามิน และอาหารเสริมเหล่านี้ร่วมกับมื้ออาหาร จะแบ่งกินกับมื้ออาหารไหนก็ได้ เพราะในขณะที่ร่างกายต้องทำการย่อยอาหาร ก็จะสามารถย่อยวิตามิน และอาหารเสริมทุกชนิดในเวลาเดียวกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าร่างกายจะเปิดรับการดูดซึมทั้งสารอาหาร และวิตามินได้ในเวลานี้นั่นเอง
6. ยาคุมกำเนิด ควรกินก่อนนอน
คนที่กำลังคุมกำเนิดอยู่ด้วยวิธีการกินยา แนะนำว่าให้กินยาคุมกำเนิดตอนก่อนนอน เพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงจากยา เช่น อาการเวียนหัว หรืออาเจียน ที่จะตามมา
7. ช่วงเช้า ๆ ทำคาร์ดิโอ
ช่วงเช้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอที่สุด เนื่องจากการออกกำลังกายแบบนี้ จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว และทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นได้ง่าย ๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายในช่วงเช้า ยังช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพราะร่างกายจะดึงเอาพลังงานที่ตกค้างมาเบิร์น
แต่ทั้งนี้ก็อย่าออกกำลังกายทั้ง ๆ ที่ท้องว่างนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะวูบได้ อย่างน้อยรับประทานอาหารเบา ๆ ก่อนออกกำลังกายสัก 30 นาทีก็ยังดีค่ะ
8. ช่วงเย็น ๆ ลองกิจกรรมใหม่ ๆ
หรือฝึกหัดกีฬาชนิดใหม่
ตั้งแต่ 16.00–18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ประสาทสัมผัสทางสายตา และมือของเราจะทำงานได้ดีที่สุด ช่วงเวลานี้จึงเหมาะที่จะลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น ลองฝึกเล่นกีฬาชนิดใหม่ ฝึกท่าโยคะที่ไม่เคยทำ หรือเข้าคอร์สเต้นออกกำลังกาย ซึ่งหากคุณได้ออกกำลังกายเบา ๆ พอให้หัวใจได้เต้นแรงสักนิด คุณจะนอนหลับได้อย่างสนิทขึ้นด้วย
9. ขัดฟันก่อนนอน
นอกจากจะต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งแล้ว เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี เราก็ควรใช้ไหมขัดฟันด้วย และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการทำความสะอาดช่องอย่างล้ำลึกก็คือ ช่วงก่อนนอน เนื่องจากหลังอาหารมื้อเย็นเป็นต้นไป ร่างกายจะหลั่งน้ำลายออกมาน้อยลง ทำให้เราสามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างสะดวกมากขึ้น
10. แปรงฟันหลังดื่มน้ำอัดลมและโซดาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโซดา โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ที่มีน้ำตาลผสมอยู่ด้วย จะเข้าไปกร่อนทำลายสารเคลือบฟันของเราให้เสียหายได้ ดังนั้นหลังจากดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ไปแล้ว 30 นาที ควรจะแปรงฟันทุกครั้ง และเหตุผลที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนจะทำความสะอาดช่องปาก ก็เพื่อให้สารในน้ำลายเข้าไปรักษาเคลือบฟัน และรากฟันก่อนนั่นเองค่ะ
ตั้งแต่ 16.00–18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ประสาทสัมผัสทางสายตา และมือของเราจะทำงานได้ดีที่สุด ช่วงเวลานี้จึงเหมาะที่จะลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น ลองฝึกเล่นกีฬาชนิดใหม่ ฝึกท่าโยคะที่ไม่เคยทำ หรือเข้าคอร์สเต้นออกกำลังกาย ซึ่งหากคุณได้ออกกำลังกายเบา ๆ พอให้หัวใจได้เต้นแรงสักนิด คุณจะนอนหลับได้อย่างสนิทขึ้นด้วย
9. ขัดฟันก่อนนอน
นอกจากจะต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งแล้ว เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี เราก็ควรใช้ไหมขัดฟันด้วย และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการทำความสะอาดช่องอย่างล้ำลึกก็คือ ช่วงก่อนนอน เนื่องจากหลังอาหารมื้อเย็นเป็นต้นไป ร่างกายจะหลั่งน้ำลายออกมาน้อยลง ทำให้เราสามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างสะดวกมากขึ้น
10. แปรงฟันหลังดื่มน้ำอัดลมและโซดาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโซดา โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ที่มีน้ำตาลผสมอยู่ด้วย จะเข้าไปกร่อนทำลายสารเคลือบฟันของเราให้เสียหายได้ ดังนั้นหลังจากดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ไปแล้ว 30 นาที ควรจะแปรงฟันทุกครั้ง และเหตุผลที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนจะทำความสะอาดช่องปาก ก็เพื่อให้สารในน้ำลายเข้าไปรักษาเคลือบฟัน และรากฟันก่อนนั่นเองค่ะ
11. รักษารากฟันหลังบ่าย 2
ปกติแล้วยาชาที่ทันตแพทย์ใช้ก่อนทำการรักษาช่องปากให้เรา จะมีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดได้นาน 8-10 ชั่วโมง ฉะนั้นหากคุณต้องเข้ารับการรักษาช่องปาก โดยเฉพาะกับเคสที่ต้องรักษารากฟัน หรือทำอะไรที่มีความเจ็บปวดหนัก ๆ ควรจะเข้ารับการรักษาหลัง 14.00 น. เพื่อปัดช่วงเวลาที่ยาหมดฤทธิ์ ให้ไปออกอาการเจ็บปวดตอนที่เราตกอยู่ในภวังค์ของการหลับลึกแทน
12. ตรวจมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์
สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป (ในกรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ควรได้รับการตรวจหาเซลล์มะเร็งตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) ควรเข้ารับการตรวจหาเซลล์มะเร็งเป็นประจำทุกปี และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการรับการตรวจ ก็คือ 1 สัปดาห์หลังจากหมดประจำเดือน เพราะในช่วงนี้เต้านม และฮอร์โมนต่าง ๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ เอื้อให้ตรวจหาเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ก็เป็นช่วงเวลาแต่ละช่วง ที่เปิดโอกาสให้เราได้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย เอื้ออำนวยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากปัจจัยภายนอกอย่างเต็มที่ที่สุด ฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายอื่น ๆ เราก็ควรดำเนินชีวิตตามเข็มนาฬิกาของร่างกายด้วยนะคะ
ปกติแล้วยาชาที่ทันตแพทย์ใช้ก่อนทำการรักษาช่องปากให้เรา จะมีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดได้นาน 8-10 ชั่วโมง ฉะนั้นหากคุณต้องเข้ารับการรักษาช่องปาก โดยเฉพาะกับเคสที่ต้องรักษารากฟัน หรือทำอะไรที่มีความเจ็บปวดหนัก ๆ ควรจะเข้ารับการรักษาหลัง 14.00 น. เพื่อปัดช่วงเวลาที่ยาหมดฤทธิ์ ให้ไปออกอาการเจ็บปวดตอนที่เราตกอยู่ในภวังค์ของการหลับลึกแทน
12. ตรวจมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์
สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป (ในกรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ควรได้รับการตรวจหาเซลล์มะเร็งตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป) ควรเข้ารับการตรวจหาเซลล์มะเร็งเป็นประจำทุกปี และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการรับการตรวจ ก็คือ 1 สัปดาห์หลังจากหมดประจำเดือน เพราะในช่วงนี้เต้านม และฮอร์โมนต่าง ๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ เอื้อให้ตรวจหาเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ก็เป็นช่วงเวลาแต่ละช่วง ที่เปิดโอกาสให้เราได้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย เอื้ออำนวยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากปัจจัยภายนอกอย่างเต็มที่ที่สุด ฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายอื่น ๆ เราก็ควรดำเนินชีวิตตามเข็มนาฬิกาของร่างกายด้วยนะคะ
No comments:
Post a Comment