Friday, July 31, 2015

ทำงานบ้านคือการออกกำลังกาย




           ออกกำลังกาย เสียเหงื่อ รับรองไม่เสียงาน ไม่เสียเวลา แถมสุขภาพแข็งแรง!!

          วันนี้ มีวิธีออกกำลังกายสำหรับแม่บ้านพ่อบ้าน ที่วัน ๆ ต้องทำงานบ้านกันอย่างหนักหน่วง จนทำให้ไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือบางครั้งเวลาพอมี แต่กวาดบ้านถูบ้านกันจนไม่มีแรกออกไปเสียเหงื่อ รับรองว่าไม่เสียงาน ไม่เสียเวลา เพราะมันเป็นการออกกำลังกายระหว่างการทำงานบ้านนั่นเอง

1. เดิน-ขึ้น ลงบันได

          วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่อยู่บ้านหลายชั้น หรืออยู่ตึกสูงอย่างคอนโดฯ หรืออพาร์ตเมนต์ เริ่มต้นด้วยการเดินขึ้นบันไดหนึ่งขั้น แล้วถอยหลังลง ให้ได้ 10 ครั้ง แล้วเพิ่มเป็นเดินขึ้น 2 ขั้น เดินลง 2 ขั้นให้ครบ 10 ครั้งเหมือนเดิม แต่อย่าลืมว่าต้องดูบันไดดี ๆ ว่าชันเกินไปหรือไม่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

2. ยกตะกร้าผ้า

          ให้พ่อบ้านแม่บ้านยืน แล้วยกตะกร้าผ้าขึ้นเหนือศีรษะ หลังจากนั้นก็ยกไปด้านหน้าสลับไปด้านหลังให้ได้ 3 ครั้ง แล้วค่อยนอนราบกับพื้น ยกตะกร้าผ้าขึ้นลงเหนือหน้าอก แต่ไม่ควรให้ตะกร้ามีผ้ามากเกินไป เพราะอาจจะหล่นใส่ผู้ออกกำลังกายได้ การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้จะช่วยบริหารหัวไหล่ แขนส่วนบนและกล้ามเนื้อหลังส่วนบน

3. เก้าอี้หมุนแสนสนุก

          ใช้เก้าอี้ที่มีล้อ ให้ลองนั่งเก้าอี้แล้วยืดมือออกไปจับขอบโต๊ะ จากนั้นใช้กล้ามเนื้อแขนดึงตัวเองเข้าไปใกล้โต๊ะ แล้วผลักตัวเองออกห่าง เป็นการออกกำลังกายต้นแขนให้กระชับ และเพรียวขึ้นได้

4. ล้างจานเข้าจังหวะ

          ในขณะที่กำลังล้างจาน ให้เดินย่ำซ้าย-ขวาไปเรื่อย ๆ วิธีนี้เป็นการบริหารต้นขาและน่อง แต่ระวังพื้นที่เปียกน้ำจะทำให้ลื่นล้มได้

          วิธี ข้างต้น เป็นแค่วิธีการบางส่วน บางคนอาจจะมีวิธีทำงานบ้านและออกกำลังกายตามแบบฉบับของตัวเอง ลองมาดูประโยชน์จากการออกกำลังกายในบ้านกันบ้าง

          ผลการศึกษาของทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเอเดเลดฟลินเดอร์ ในสกอตแลนต์ พบว่า กิจกรรมของงานบ้านมีประสิทธิภาพในการเผาผลาญแคลอรี ได้พอ ๆ กับการออกกำลังกายในรูปแบบอื่น ที่ช่วยบริหารหลอดเลือด นอกจากนี้ผลการศึกษายังยืนยันว่า งานบ้านหลายอย่าง มีผลต่อการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ในระดับเดียวกันกับการออกกำลังกาย ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด

          การ ทำงานบ้านมีการแบ่งการเสียพลังงานออกเป็น 3 ระดับ คือ กิจกรรมงานบ้านในระดับใช้พลังงานน้อย ๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รีดผ้า รดน้ำต้นไม้ ฯลฯ เป็นการออกกำลังที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ จากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ได้รับประโยชน์มากที่สุด แต่ประโยชน์ที่เกิดกับระบบหายใจและหัวใจจะไม่ชัดเจน

          การ ทำงานบ้านหลาย ๆอย่างที่ต่อเนื่องผสมผสาน เช่น รีดผ้า 50 นาที กวาดบ้าน 30 นาที หรือการเช็ดถูบ้าน 52 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ถึง 100-200 กิโลแคลอรี ส่วนกิจกรรมงานบ้านที่ใช้พลังงานในระดับกลาง คือการปลูกต้นไม้ การขุดดิน การตัดต้นไม้เนื่องจากต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ในการทำงานเป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกเหนื่อยเมื่อตัดต้นไม้โค่นต้นไม้ เนื่องจากในขณะที่กำลังฟันต้นไม้เป็นกิจกรรมสลับไปมาระหว่างการเกร็งกล้าม เนื้อ การทำงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน และการทำงานแบบใช้ออกซิเจน จะมีการหายใจและหยุดเป็นช่วง ๆ

          ขณะที่งานบ้านที่ทำให้เสียพลังงานมากหรือระดับหนัก คือ การย้ายของย้ายเฟอร์นิเจอร์จากห้องหนึ่งไปห้องหนึ่ง การขึ้นลงบันไดซ้ำ ๆ หลาย ๆ เที่ยวอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบหัวใจและปอด ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่หายใจถี่ขึ้น หัวใจเต้นแรงขึ้น

          สำหรับ พ่อบ้านแม่บ้านที่ทำงานบ้านบ่อย ๆ มีผลวิจัยที่ทำให้ยิ้มได้กันอีกคือ รายงานในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาอังกฤษระบุว่า การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแค่ 20 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น ทำความสะอาดบ้าน วิ่งจ๊อกกิ้ง สามารถลดอาการซึมเศร้าได้ ยิ่งออกำลังกายบ่อย ๆ และมาก ๆ ก็ยิ่งเป็นผลดี

          นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน ได้สำรวจข้อมูลของประชาชน 20,000 คนที่ออกกำลังกายทุกวัน เพื่อศึกษาผลที่มีต่อสภาพจิตใจ และงานวิจัยอีกชิ้นในวารสารฉบับเดียวกันพบว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนและคนชราที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะแก่ตัวช้าลง

          ในจำนวนชายสก๊อต 20,000 คน มี 3,000 คนที่บอกว่า ตัวเองรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ผลวิจัยพบว่าคนที่ออกกำลังกาย จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะมีอาการดังกล่าว การเล่นกีฬาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งจะลดความเสี่ยงได้ 33 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การทำงานบ้านและการเดินจะช่วยลดได้ 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

          นอก จากจะได้ทำงานบ้าน ได้สุขภาพที่แข็งแรง แถมไม่ต้องเสียเงินแล้ว การทำงานบ้านที่เอาท่วงท่าการออกกำลังกายมาประกอบ ยังช่วยให้แก่ช้าลงได้อีกหลายปีเลยนะ

แหล่งที่มา  สสส., http://health.kapook.com/view10600.html
เครดิตภาพ  http://health.kapook.com/view80506.html

No comments:

Post a Comment