ท้องอืด อาการนี้อาจไม่ได้เกิดจากการกินมากไป
แต่อาจเป็นเพราะอาหารที่คุณทานเข้าไปนั่นล่ะเป็นสาเหตุ
ใครที่เคยเจออาการท้องอืดก็คงจะพอจะรู้ว่าน่าอึดอัดขนาดไหน จะทำอะไรก็ไม่สะดวกเป็นเพราะมีลมที่อยู่ในช่องท้อง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะโทษว่าการที่กินอาหารมากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้อง อืด ทว่าจริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องกินเยอะก็ทำให้ท้องอืดได้เหมือนกัน แต่จะเพราะอะไรนั้นต้องลองไปดูที่นิตยสาร Lisa หยิบมาบอกเล่าให้เราทราบ พร้อมกับไปดูกันด้วยว่าอาหารชนิดไหนบ้างที่ทำให้ท้องอืด จะได้เลี่ยง ๆ กันได้ถูก ไม่ต้องมานั่งทรมานกับอาการท้องอืดกันอีกต่อไป
งานวิจัยล่าสุดจาก International Journal of Clinical Practice พบว่า ท้องอืดเกิดจากการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีการดูดซึมในลำไส้น้อย และมักอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติสูง หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า "FODMAPs" (Fermentable Oligo-Di-Monosaccharide and Polyols)
โดย ผศ. ดร.Julia Greer แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Pittsburgh ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายว่าอาหารในกลุ่ม FODMAPs นั้น จะถูกดูดซึมในลำไส้เล็กได้เพียงเล็กน้อย บางครั้งก็ย่อยไม่หมดจนเกิดการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแก๊สขึ้นในลำไส้ใหญ่และส่งผลให้รู้สึกท้องอืด ส่วนวิธีบรรเทาอาการ ดร.Greer แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าเพื่อช่วยขับแก๊ส แต่หากมีอาการแน่นท้องอยู่บ่อย ๆ อาจต้องเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องดังต่อไปนี้
ใครที่เคยเจออาการท้องอืดก็คงจะพอจะรู้ว่าน่าอึดอัดขนาดไหน จะทำอะไรก็ไม่สะดวกเป็นเพราะมีลมที่อยู่ในช่องท้อง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะโทษว่าการที่กินอาหารมากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้อง อืด ทว่าจริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องกินเยอะก็ทำให้ท้องอืดได้เหมือนกัน แต่จะเพราะอะไรนั้นต้องลองไปดูที่นิตยสาร Lisa หยิบมาบอกเล่าให้เราทราบ พร้อมกับไปดูกันด้วยว่าอาหารชนิดไหนบ้างที่ทำให้ท้องอืด จะได้เลี่ยง ๆ กันได้ถูก ไม่ต้องมานั่งทรมานกับอาการท้องอืดกันอีกต่อไป
งานวิจัยล่าสุดจาก International Journal of Clinical Practice พบว่า ท้องอืดเกิดจากการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีการดูดซึมในลำไส้น้อย และมักอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติสูง หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า "FODMAPs" (Fermentable Oligo-Di-Monosaccharide and Polyols)
โดย ผศ. ดร.Julia Greer แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Pittsburgh ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายว่าอาหารในกลุ่ม FODMAPs นั้น จะถูกดูดซึมในลำไส้เล็กได้เพียงเล็กน้อย บางครั้งก็ย่อยไม่หมดจนเกิดการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแก๊สขึ้นในลำไส้ใหญ่และส่งผลให้รู้สึกท้องอืด ส่วนวิธีบรรเทาอาการ ดร.Greer แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าเพื่อช่วยขับแก๊ส แต่หากมีอาการแน่นท้องอยู่บ่อย ๆ อาจต้องเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องดังต่อไปนี้
1.โยเกิร์ต
จริงอยู่ที่โยเกิร์ตนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย แต่โยเกิร์ตบางชนิดก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะโยเกิร์ตคือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยจัดอยู่ในกลุ่มของนมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก และอุดมด้วยน้ำตาลแล็กโทส (น้ำตาลที่พบในน้ำนม) ทำให้เกิดการหมักอยู่ในลำไส้กลายเป็นฟองแก๊ส จึงรู้สึกเหมือนมีลมและปั่นป่วนอยู่ภายในท้อง ดร.Greer แนะนำให้กินกรีกโยเกิร์ตรส ธรรมชาติ (Plain Greek Yogurt) ซึ่งมีน้ำตาลเพียง 12 กรัมและให้โปรตีนสูง ถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วนโยเกิร์ตที่ปราศจากไขมันหรือแบบไขมันต่ำอาจมีน้ำตาลสูงถึง 30 กรัม ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊สในท้องมากยิ่งขึ้น
จริงอยู่ที่โยเกิร์ตนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย แต่โยเกิร์ตบางชนิดก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะโยเกิร์ตคือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยจัดอยู่ในกลุ่มของนมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก และอุดมด้วยน้ำตาลแล็กโทส (น้ำตาลที่พบในน้ำนม) ทำให้เกิดการหมักอยู่ในลำไส้กลายเป็นฟองแก๊ส จึงรู้สึกเหมือนมีลมและปั่นป่วนอยู่ภายในท้อง ดร.Greer แนะนำให้กินกรีกโยเกิร์ตรส ธรรมชาติ (Plain Greek Yogurt) ซึ่งมีน้ำตาลเพียง 12 กรัมและให้โปรตีนสูง ถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วนโยเกิร์ตที่ปราศจากไขมันหรือแบบไขมันต่ำอาจมีน้ำตาลสูงถึง 30 กรัม ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊สในท้องมากยิ่งขึ้น
2. ผักตระกูลกะหล่ำ
กะหล่ำปลี, บรอกโคลี และกะหล่ำดอก ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตประเภทที่เรียกว่าแรฟฟิโนส (Raffinose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในธรรมชาติประกอบด้วยน้ำตาล 3 ชนิดคือ ฟรักโทส กลูโคส และกาแลกโทส ตามปกติแล้วร่างกายจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ในระบบทางเดินอาหารจน กว่าผักเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะถูกย่อยให้เล็กลงจากแบคทีเรียที่อยู่ในนั้น แต่กว่าจะย่อยได้หมด กากอาหารจากผักจะเกิดการหมักหมมจนกลายเป็นแก๊ส ดร.Greer จึงแนะวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายย่อยผักกะหล่ำได้ง่ายขึ้น คือนำไปอบหรือย่างให้สุกก่อนกินนั่นเอง
กะหล่ำปลี, บรอกโคลี และกะหล่ำดอก ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตประเภทที่เรียกว่าแรฟฟิโนส (Raffinose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในธรรมชาติประกอบด้วยน้ำตาล 3 ชนิดคือ ฟรักโทส กลูโคส และกาแลกโทส ตามปกติแล้วร่างกายจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ในระบบทางเดินอาหารจน กว่าผักเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะถูกย่อยให้เล็กลงจากแบคทีเรียที่อยู่ในนั้น แต่กว่าจะย่อยได้หมด กากอาหารจากผักจะเกิดการหมักหมมจนกลายเป็นแก๊ส ดร.Greer จึงแนะวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายย่อยผักกะหล่ำได้ง่ายขึ้น คือนำไปอบหรือย่างให้สุกก่อนกินนั่นเอง
3. ถั่ว
ถั่ว จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยให้เป็นน้ำตาลได้ยาก (Resistant Starch) หรือพูดง่าย ๆ คือเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้ตามธรรมชาติ หรือไม่ถูกดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด โดยทั่วไปมักพบในประเภทถั่วเปลือกแข็งทั้งหลาย สำหรับวิธีรับประทานถั่วอย่างมีความสุขนั้น ดร.Greer บอกให้นำถั่วเปลือกแข็งแช่น้ำไว้ค้างคืน ความชุ่มฉ่ำจากน้ำจะช่วยให้ถั่วอ่อนนิ่มและยับยั้งคาร์โบไฮเดรตได้บางส่วน ทำให้ลดอาการท้องอืดที่อาจเกิดขึ้นได้
ถั่ว จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยให้เป็นน้ำตาลได้ยาก (Resistant Starch) หรือพูดง่าย ๆ คือเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้ตามธรรมชาติ หรือไม่ถูกดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด โดยทั่วไปมักพบในประเภทถั่วเปลือกแข็งทั้งหลาย สำหรับวิธีรับประทานถั่วอย่างมีความสุขนั้น ดร.Greer บอกให้นำถั่วเปลือกแข็งแช่น้ำไว้ค้างคืน ความชุ่มฉ่ำจากน้ำจะช่วยให้ถั่วอ่อนนิ่มและยับยั้งคาร์โบไฮเดรตได้บางส่วน ทำให้ลดอาการท้องอืดที่อาจเกิดขึ้นได้
4. หัวหอมใหญ่
ฟรุกแทน (Fructan) เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่พบในหัวหอมใหญ่ ซึ่งมักเป็นปัญหาต่อช่องท้องของเรา เนื่องจากพืชผักตระกูลหอม ไม่ว่าจะเป็นต้นหอม หัวหอมแดง และหัวหอมใหญ่ มักดูดซึมในลำไส้ได้น้อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำในลำไส้ ส่งผลให้เกิดแก๊สและท้องอืดตามมา
ฟรุกแทน (Fructan) เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่พบในหัวหอมใหญ่ ซึ่งมักเป็นปัญหาต่อช่องท้องของเรา เนื่องจากพืชผักตระกูลหอม ไม่ว่าจะเป็นต้นหอม หัวหอมแดง และหัวหอมใหญ่ มักดูดซึมในลำไส้ได้น้อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำในลำไส้ ส่งผลให้เกิดแก๊สและท้องอืดตามมา
5. แตงโม
ผลไม้ที่ให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดนี้อุดมไปด้วยน้ำตาลฟรักโทสในระดับสูง มาก โดย ดร.Greer ระบุว่า ประมาณ 30-40% ของผู้ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมฟรักโทสได้อย่างเต็มที่นั้นจะนำไปสู่อาการ ท้องอืด บางครั้งอาจมีอาหารท้องเสียร่วมด้วย
ผลไม้ที่ให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดนี้อุดมไปด้วยน้ำตาลฟรักโทสในระดับสูง มาก โดย ดร.Greer ระบุว่า ประมาณ 30-40% ของผู้ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมฟรักโทสได้อย่างเต็มที่นั้นจะนำไปสู่อาการ ท้องอืด บางครั้งอาจมีอาหารท้องเสียร่วมด้วย
6. สารให้ความหวานสังเคราะห์
สารให้ความหวานอย่างซอร์บิทอล และไซลิทอลถือเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar Alcohol) ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นส่วนประกอบในหมากฝรั่ง ซึ่งน้ำตาลแอลกอฮอล์เหล่านี้จะมีการดูดซึมในลำไส้เล็กได้ค่อนข้างช้า จึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง และอาจท้องเสียได้
สารให้ความหวานอย่างซอร์บิทอล และไซลิทอลถือเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar Alcohol) ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นส่วนประกอบในหมากฝรั่ง ซึ่งน้ำตาลแอลกอฮอล์เหล่านี้จะมีการดูดซึมในลำไส้เล็กได้ค่อนข้างช้า จึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง และอาจท้องเสียได้
7. ธัญพืช
ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และข้าวโพดต่างก็มีส่วนประกอบของฟรุกแทน ซึ่งไม่สามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติ และโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน (คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการย่อยทางพันธุกรรม เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับกลูเตนซึ่งไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการคล้ายกับแพ้นม) การกินธัญพืชเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็กและ เกิดแก๊สขึ้นในท้อง บางคนอาจมีอาการท้องเสีย หรือท้องผูกร่วมด้วย แต่ถึงแม้จะไม่มีอาการแพ้กลูเตนเลยก็ตาม เส้นใยจากพืชที่ไม่ละลายน้ำชนิดนี้จะถูกหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่การเกิดแก๊สเป็นจำนวนมหาศาลอยู่ดี
รับทราบแล้วก็พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยการเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้ รับรองคุณจะพบว่าอาการท้องอืดเหมือนมีลมเต็มท้องลดน้อยลงโดยไม่ต้องพึ่งยา แก้ท้องอืด หรือยาขับลมอีกต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และข้าวโพดต่างก็มีส่วนประกอบของฟรุกแทน ซึ่งไม่สามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติ และโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน (คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการย่อยทางพันธุกรรม เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับกลูเตนซึ่งไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการคล้ายกับแพ้นม) การกินธัญพืชเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็กและ เกิดแก๊สขึ้นในท้อง บางคนอาจมีอาการท้องเสีย หรือท้องผูกร่วมด้วย แต่ถึงแม้จะไม่มีอาการแพ้กลูเตนเลยก็ตาม เส้นใยจากพืชที่ไม่ละลายน้ำชนิดนี้จะถูกหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่การเกิดแก๊สเป็นจำนวนมหาศาลอยู่ดี
รับทราบแล้วก็พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยการเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้ รับรองคุณจะพบว่าอาการท้องอืดเหมือนมีลมเต็มท้องลดน้อยลงโดยไม่ต้องพึ่งยา แก้ท้องอืด หรือยาขับลมอีกต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Lisa
http://health.kapook.com/view135938.html
เครดิตภาพ http://health.kapook.com/view135938.html
เครดิตภาพ http://health.kapook.com/view135938.html
No comments:
Post a Comment