ยังจำได้
ได้ยินคำสอนจากพ่อมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า ฝนตกใหม่ๆ
อย่าไปเล่นน้ำฝนนะลูก เดี๋ยวจะเป็นหวัด หรือ ถ้าเปียกฝนมา พ่อก็จะบอกว่ารีบไปอาบน้ำแล้วเช็ดตัวให้แห้งนะลูกจะได้ไม่เป็นหวัด
หรือแม้แต่เท้าเปียกชื้นเป็นเวลานาน พ่อก็จะบอกว่าให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งซะนะเดี๋ยวไม่สบาย
คำเหล่านี้เป็นการบอกต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ก็คงเพราะเป็นสถิติที่จดจำกันมา ผมเองก็สงสัยมาตั้งแต่เด็กว่า
ทำไมฝนตกใหม่ๆ กับฝนที่ตกมาระยะหนึ่งแล้ว มันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงส่งผลให้เป็นหวัดได้
เมื่อผมโตขึ้น ข้อสงสัยเหล่านี้จึงถูกไขปัญหาด้วยความรู้จากประสบการณ์และความเข้าใจต่อ
องค์ประกอบของการเกิดโรค
โรคหวัด ก็คือเกิดจากการติดเชื้อต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งก็เริ่มตั้งแต่โพรงจมูก ลงไปที่หลอดลม
จนถึงปอด แล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไวรัส
ซึ่งมีไวรัสเป็นร้อยชนิด ที่ทำให้เกิดไข้หวัดได้ ไวรัสเหล่านี้
กระจายฟุ้งอยู่ในอากาศทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งเราก็สัมผัสเจ้าเชื้อไวรัสเหล่านี้้กันประจำ
แต่เนื่องจากปริมาณมีไม่สูง รวมทั้งภูมิต้านทานของร่างกาย และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อเชื้อโรค
เราจึงไม่เป็นหวัดกันง่ายๆ
ไวรัส ลอยอยู่ทั่วไปในอากาศและพื้นผิว ทำไมฝนตกใหม่ๆ หรือตอนฝนลงปรอยๆ จึงส่งผลให้เป็นหวัดได้ง่ายกว่า
ก็คงเพราะละอองฝนที่พรมลงมาในช่วงเริ่มต้น ได้ลงมาพร้อมกับจับเอาเชื้อโรคต่างๆ
ที่อยู่ในอากาศปะปนลงมาด้วย เมื่อมาสัมผัสที่ตัวเรา
โดยเฉพาะโพรงจมูกขณะที่เราหายใจ ก็จะทำให้เชื้อโรคเล็ดลอดเข้าไปอยู่ในนั้น กอร์ปกับอุณหูมิร่างกายโดยเฉพาะโพรงจมูกขณะที่เขาเปียกฝนลดลงกว่าสภาวะปกติ
จึงทำให้เชื้อสามารถแพร่ได้ดีขึ้น เรื่องนี้ไม่เฉพาะที่ร่างกายส่วนบนเท่านั้น
เท้าก็เช่นเดียวกัน เมื่อเท้าเราเปียกอยู่เป็นเวลานาน ส่งผลให้โพรงจมูกมีอุณหถูมิลดลงด้วยเช่นกัน
แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ถ้า ต้องเดินฝ่าละอองฝน เพราะบางทีฝนก็บางเบาเกินกว่าจะกางร่ม
สำหรับผมวิธีง่ายๆ และใช้อยู่เป็นประจำคือ
ถ้าต้องเดินฝ่าสายฝนที่ตกปรอยๆ จะใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดจมูก
ถ้าไม่มีก็ใช้มือนี่แหละครับ ปิดที่จมูกพอหลวมๆ แล้วหายใจผ่านฝ่ามือตัวเรา วิธีนี้ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่มากับละอองฝนได้เป็นอย่างดีตอนที่คิดให้ทำ
เช่นนั้นก็เพราะว่า เชื้อโรคมันคงซึมผ่านสู่หนังศีรษะเราลงไปไม่ได้ แต่มันสามารถผ่านทางการหายใจของเราได้
ตั้งแต่นั้นผมก็ใชัวิธีนี้ และแนะนำให้ใช้กับทุกคนในครอบครัว
ส่วนศีรษะจำเป็นหรือไม่ ถ้า มีร่มและฝนตกหนาเม็ดพอสมควรก็กางร่มเถอะครับ เพราะการที่ศีรษะเราเปียก
ก็ส่งผลให้อุณหูมิในส่วนโพรงจมูกลดได้เหมือนกัน ซึ่งเคยมีการลงเรื่องนี้ไว้ว่า
เมื่อร่างกายเราเย็น โดยเฉพาะที่ศีรษะ หรือเท้า
จะส่งผลให้อุณหภูมิในโพรงจมูกลดลงประมาณ 2 องศาครับ ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้เหมาะสมสำหรับการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสที่ตกค้างอยู่ใน
โพรงจมูกครับ สังเกตุง่ายก็ได้ครับ ถ้าเวลาที่เราต้องไปนั่งใต้ช่องแอร์ และความเย็นเป่าลงมาใส่ศีรษะเราโดยตรงเป็นเวลานานๆ
เราก็มักจะเป็นหวัดได้เหมือนกัน
ควรอาบน้ำ-สระผมหลังตากฝนมาหรือไม่ มี ผู้กล่าวไว้ว่า การที่ให้อาบน้ำหรือสระผมร่วมด้วย เพราะจะได้ชะเชื้อโรคออกไปให้หมด
แล้วรีบเช็ดตัวให้แห้ง สำหรับผมดูตามความเหมาะสมครับ
ถ้าผมไม่เปียกมากมายก็ไม่สระ หรือถ้ารู้สึกหนาวก็อาจไม่สระ เพราะไม่อยากไปเพิ่มความเย็นให้กับศีรษะเพิ่มเข้าไปอีก
อาจจะชำระล้างร่างกายจากสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาด้วย แล้วรีบทำตัวให้อบอุ่น
หรือดื่มน้ำอุ่น ซึ่งมันน่าจะทำให้เชื้อที่ปะปนเข้ามาสู่้ระบบทางเดินหายใจเราเจริญเติบโตได้ยากขึ้น
การรับประทานยาดักไว้ล่ะ หลายคนพอตัวเองหรือเห็นเพื่อนๆ มีอาการเหมือนจะไม่สบาย ก็มักจะบอกให้ทานยาดักไว้
ความจริงไม่น่าจะเป็นไปได้ อย่างที่เราทราบกันอยู่ว่า
เชื้อหวัดยังไม่มียารักษา มีแต่บรรเทาอาการข้างเคียงของการเป็นหวัด เช่นยาลดน้ำมูก
หรือยาลดไข้ เพื่อความสบายใจหลายคนก็ทาน
แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรับประทานยาไว้ก่อน
สรุปวิธีหลีกเลี่ยงการเป็นหวัด
1.
หลีกเลี่ยงที่จะเดินฝ่าสายฝน
2.
ถ้าจำเป็นต้องเดินฝ่า สายฝน
ถ้ามีร่มก็กางร่ม ถ้าไม่มี ก็หาผ้าเช็ดหน้าปิดจมูกเพื่อป้องกันละอองฝนที่ปะปนกับเชื้อโรคเข้าสู่ทาง
เดินหายใจ
3.
หลังจากเปียกฝน อาบน้ำหรือไม่
แล้วแต่สมควร และรีบทำตัวให้อบอุ่น
4.
ถ้าเท้าที่เราฝ่าสายฝน หรือเดินลุยน้ำมาเป็นเวลานาน
ให้หาน้ำอุ่นแช่เท้าสัก 5 นาที (เกินกว่านั้นน้ำเริ่มเย็นลง)
เพื่อให้อุณหภูมิในจมูกลดลง
รู้ทันโรค
และหาทางป้องกันได้ง่ายๆ เพียงเท่านี้โอกาสไม่สบายจากหวัดก็น้อยลง
ช่วงนี้ฝนตกบ่อยดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ด้วยความห่วงใย...mata
เขียนโดย
พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment