วิถีการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันมักถูกกดดันจากสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ครอบครัวหรือการทำงาน ต่างบั่นทอนพลังกาย พลังสมอง บ่อยครั้งที่เรารู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา สมองตื้อ ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ค่อยดี ถ้าปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดเจ็บป่วยตามมา ประโยชน์ของโภชนาการเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเสริมสร้างสุขภาพและ เพิ่มพลังให้กับสมอง
คนส่วนใหญ่รู้ว่าอวัยวะสำคัญที่เป็นศูนย์ควบคุมและบัญชาการทำงานของร่างกายคือ "สมอง" เป็น หน่วยเก็บความจำและมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกของคนเราด้วย แต่บางคนอาจไม่รู้ว่า อาหารมีความสำคัญต่อการพัฒนาของสมองไม่แพ้ทางร่างกาย
สมองจะทำงานได้ดีโดยเราต้องเลือกการกินอาหารให้หลากหลาย ครบถ้วน ทุกหมวดหมู่ในปริมาณพอเหมาะ ดูแลสุขภาพหลอดเลือดหัวใจไปพร้อม ๆ กัน ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอนหรือนอนดึก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเพียงพอ ฝึกใช้สมองความคิดเสมอ ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษาและชะลอการเสื่อมของสมองอย่างได้ผลดี
การ จะมีสุขภาพกายและสุขภาพสมองที่ดี ต้องรู้จักที่จะปฏิบัติตนให้มีโภชนาการที่ดี สำหรับหลักการกินเพื่อการส่งเสริมการทำงานของสมอง มีดังนี้
1. กินอย่างฉลาด
สารอาหารที่สมองต้องการใช้ในยามเตรียมสอบหรือยามใช้สมองทำงานหนัก ได้แก่ วิตามินบีต่าง ๆ และธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์โดยเฉพาะส่วนของเนื้อล้วน ผักใบเขียวจัด ถั่วเมล็ดแห้ง นอกจาก นี้อาหารฟังก์ชั่นบางชนิดที่สะดวกต่อการบริโภค และให้โปรตีนในรูปเปปไทด์ซึ่งร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น ซุปไก่สกัด ซึ่งมีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารจำพวกธาตุ เหล็กที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นและช่วยให้เลือดขนส่ง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น จึงช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และความจำ รวมถึงช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน
งาน วิจัยที่ผ่านมาพบอีกว่าซุปไก่สกัด มีส่วนช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง ช่วยให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ล่าสุดมีงานวิจัยในวารสาร Medicine พบว่า ซุปไก่สกัดมีผลช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้จดจำ โดยเฉพะความจำระยะสั้นในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีภาวะเครียดและวิตกกังวลสูง ส่วนอาหารที่มีวิตามินบีสูง ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จมูกข้าว ไข่และถั่วต่าง ๆ อาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไก่ ปลา หมู เนื้อ ไข่ รวมทั้งโปรตีนถั่ว ต่างก็ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง
2. กินอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง
เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ใยอาหาร ซึ่งหากินได้ไม่ยากจากผักผลไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นส้ม แอปเปิล กล้วย พรุน เบอร์รี แครอท เป็นต้น สารแอนติออกซิแดนท์จะช่วยลดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากในสมองในยามเครียด ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น
3. กินให้เป็นเวลา
จะช่วยให้รักษาระดับพลังงานของร่างกายและวิตามินแร่ธาตุให้คงที่ ในการที่ร่างกายจะดึงไปใช้ได้ตลอดเวลา
4. กินอาหารมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อ
ปรับมื้ออาหารหลักให้มีปริมาณน้อยลงโดยกิน 5-6 มื้อต่อวันจะทำให้ระบบของร่างกายทำงานดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าและสมองไม่ล้าตลอดวันและช่วยรักษาระดับน้ำตาล ในเลือดให้คงที่
5. ห้ามงดอาหารเช้าเด็ดขาด
เพราะ จะทำให้สมองตื้อได้ อาหารเช้าจะช่วยเสริมพลังให้สมอง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพของอาหารเช้า หากเป็นกาแฟ โดนัท หรือเค้ก คุกกี้ ไม่ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อาหารเช้าที่ดีควรจะมี โปรตีน แคลเซียม ใยอาหาร ผลไม้และผัก แต่ถ้าต้องการความรวดเร็ว สะดวก ขนมปังโฮลวีทสักแผ่น ซุปไก่สกัดสักขวด แอปเปิลสักผล แครอทสดสักชิ้น นมสักแก้ว ก็ให้สารอาหารดี ๆ มากทีเดียว
6. ให้ผลไม้เป็นอาหารว่างระหว่างวัน
เพื่อให้สารอาหารดี ๆ ต่อสมองมากกว่าขนมที่มีไขมันสูง เพราะผลไม้เป็นแหล่งของสารแอนติออกซิแดนท์ที่จะช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลาย สมอง เช่น บลูเบอร์รี พรุน มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงสุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน
7. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เน้นการดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาเฟอีน คาเฟอีนมากไปจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่ายได้
นอก จากการปฏิบัติตามหลักข้างต้น ต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่ และพยายามหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียงแค่นี้คุณก็จะมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและสมองได้ไม่ยากเลย
ข้อมูลโดย อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพจากสหรัฐอเมริกา
สารอาหารที่สมองต้องการใช้ในยามเตรียมสอบหรือยามใช้สมองทำงานหนัก ได้แก่ วิตามินบีต่าง ๆ และธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์โดยเฉพาะส่วนของเนื้อล้วน ผักใบเขียวจัด ถั่วเมล็ดแห้ง นอกจาก นี้อาหารฟังก์ชั่นบางชนิดที่สะดวกต่อการบริโภค และให้โปรตีนในรูปเปปไทด์ซึ่งร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น ซุปไก่สกัด ซึ่งมีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารจำพวกธาตุ เหล็กที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นและช่วยให้เลือดขนส่ง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น จึงช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และความจำ รวมถึงช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน
งาน วิจัยที่ผ่านมาพบอีกว่าซุปไก่สกัด มีส่วนช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง ช่วยให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ล่าสุดมีงานวิจัยในวารสาร Medicine พบว่า ซุปไก่สกัดมีผลช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้จดจำ โดยเฉพะความจำระยะสั้นในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีภาวะเครียดและวิตกกังวลสูง ส่วนอาหารที่มีวิตามินบีสูง ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จมูกข้าว ไข่และถั่วต่าง ๆ อาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไก่ ปลา หมู เนื้อ ไข่ รวมทั้งโปรตีนถั่ว ต่างก็ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง
2. กินอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง
เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ใยอาหาร ซึ่งหากินได้ไม่ยากจากผักผลไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นส้ม แอปเปิล กล้วย พรุน เบอร์รี แครอท เป็นต้น สารแอนติออกซิแดนท์จะช่วยลดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากในสมองในยามเครียด ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น
3. กินให้เป็นเวลา
จะช่วยให้รักษาระดับพลังงานของร่างกายและวิตามินแร่ธาตุให้คงที่ ในการที่ร่างกายจะดึงไปใช้ได้ตลอดเวลา
4. กินอาหารมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อ
ปรับมื้ออาหารหลักให้มีปริมาณน้อยลงโดยกิน 5-6 มื้อต่อวันจะทำให้ระบบของร่างกายทำงานดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าและสมองไม่ล้าตลอดวันและช่วยรักษาระดับน้ำตาล ในเลือดให้คงที่
5. ห้ามงดอาหารเช้าเด็ดขาด
เพราะ จะทำให้สมองตื้อได้ อาหารเช้าจะช่วยเสริมพลังให้สมอง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพของอาหารเช้า หากเป็นกาแฟ โดนัท หรือเค้ก คุกกี้ ไม่ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อาหารเช้าที่ดีควรจะมี โปรตีน แคลเซียม ใยอาหาร ผลไม้และผัก แต่ถ้าต้องการความรวดเร็ว สะดวก ขนมปังโฮลวีทสักแผ่น ซุปไก่สกัดสักขวด แอปเปิลสักผล แครอทสดสักชิ้น นมสักแก้ว ก็ให้สารอาหารดี ๆ มากทีเดียว
6. ให้ผลไม้เป็นอาหารว่างระหว่างวัน
เพื่อให้สารอาหารดี ๆ ต่อสมองมากกว่าขนมที่มีไขมันสูง เพราะผลไม้เป็นแหล่งของสารแอนติออกซิแดนท์ที่จะช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลาย สมอง เช่น บลูเบอร์รี พรุน มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงสุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน
7. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เน้นการดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาเฟอีน คาเฟอีนมากไปจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่ายได้
นอก จากการปฏิบัติตามหลักข้างต้น ต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่ และพยายามหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียงแค่นี้คุณก็จะมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและสมองได้ไม่ยากเลย
ข้อมูลโดย อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพจากสหรัฐอเมริกา
http://health.kapook.com/view152918.html
No comments:
Post a Comment