นอนเถอะค่ะ...
แล้วพรุ่งนี้ทุกอย่างจะดีเอง คำพูดนี้อาจฟังดูไม่สมเหตุสมผล
แต่เชื่อเถอะว่ามันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะการหลับสนิทในช่วงที่ร่างกายต้องการพักผ่อนคือการชาร์จพลังที่ดีที่สุด
ที่มอบคุณประโยชน์มหาศาลทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
น่าตกใจกับผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาชิ้น หนึ่งที่พบว่าเมืองนิวยอร์กทั้งเมืองล้วนเต็มไปด้วยสาวก Sleepless Society คนนอนไม่หลับมากมาย ในจำนวนนี้ยังได้หมายรวมไปถึงกลุ่มคนที่พยายามจะนอนให้หลับ และกลุ่มคนที่เทคยานอนหลับด้วย
จากการแยกแยะวิเคราะห์พฤติกรรมและผลกระทบยืนยันว่า คนส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ซึ่งมีความเคร่งเครียดหลักจากสภาวะกดดันเรื่องความก้าวหน้าในการงาน และค่าครองชีพ การนอนไม่หลับอันเนื่องจากไม่รู้จัก Shut Down ความคิดที่วนเวียนในสมองนี้ ยังส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้า หดหู่ ที่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย และเมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า มันก็จะเริ่มก่อตัวเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุด นั่นคือ เครียด-นอนไม่หลับ-หดหู่ซึมเศร้า-ขาดพลังงานและความคิดสร้างสรรค์-ผลงานไม่ น่าประทับใจ-วิตกจริต และกลับมาสู่วงจรแห่งความเครียดซ้ำซ้อน นักวิชาการทั่วโลกต่างออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า... นี่คือมหันตภัยทางจิต ของเวิร์กกิ้งแมนและวูแมนทั่วโลกแห่งปี 2008 ที่น่ากลัว
9 Checks, Are You A Sleepless Society?
ลองมาเช็กดูกันดีกว่าว่าวันนี้คุณมีอาการเข้าใกล้วงจรนอนไม่หลับแค่ไหน...คุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า
• หลับตานานแล้ว แต่สมองยังไม่หยุดคิด
• มักรู้สึกตัวระหว่างนอนหลับเป็นระยะๆ
• ระหว่างหลับรู้สึกว่าสมองยังคิดและกังวล
• ไม่อยากตื่นทั้งที่รู้สึกว่านอนมานานแล้ว
• ความคิดตื้อตันไม่ทันใจ
• ง่วงนอนระหว่างวัน
• รู้สึกซึมเศร้าอย่างไม่มีสาเหตุ
• ปวดหัว และอ่อนเพลียง่าย
• ตื่นด้วยความงัวเงียไม่แจ่มใส แม้จะอาบน้ำและแปรงฟัน
10 Ways to Sleep Well
ใช้ชีวิตเปลี่ยนแนว เพื่อการนอนหลับที่เป็นสุขและหมดทุกข์เรื่องเครียดกังวล กับ 10 คำแนะนำเหล่านี้
1. เข้านอนก่อน 4 ทุ่ม และตื่น 6 โมงเช้า เพราะนี่คือช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการพักผ่อนร่างกาย
2. สะสาง วางแผนสิ่งที่กังวลที่จะทำในวันต่อไปให้เรียบร้อยเพื่อลดอาการวิตกจริต และคิดซ้ำซาก
3. บอกกับตัวเองว่าการเครียดกังวล และใช้สมองในช่วงที่ต้องนอนหลับนั้นเปล่าประโยชน์ เนื่องจากสติ สัมปชัญญะ และความอ่อนล้าของร่างกายคืออุปสรรค ดังนั้น นอนหลับให้สนิทแล้วตื่นมาคิดอย่างแจ่มใส ย่อมให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า
4. ถ้าคุณนอนหลับยาก ควรออกกำลังกายในช่วงเย็น หรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน แต่อย่าทำใกล้เวลานอน
5. ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แล้วจะหลับง่ายสบายบอดี้
6. เสริมเครื่องฟอกอากาศในห้องนอนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่สมดุล จะนอนหลับลึกได้ต่อเนื่อง
7. ความมืดมิดและไร้เสียง คือเคล็ดลับที่จะทำให้หลับได้สนิทและยาวนาน
8. ดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของกรด อะมิโน Tryptophan จากโปรตีน อย่างธัญพืช หรือเครื่องดื่ม Whole Grains ก่อนนอน จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสาร Niacin จากวิตามินบี 5 ทำให้สมองและร่างกายผ่อนคลาย และง่วงนอนง่ายขึ้น
9. สร้างกิจวัตรใหม่ด้วยการเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ลองทำแค่ 1 อาทิตย์ ติดต่อกัน ร่างกายก็คุ้นเคยแล้ว
10. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และช็อกโกแลตระหว่างวัน เพราะกาเฟอีนที่ผสมอยู่จะทำให้ร่างกายตื่นตัว
สมองคืออาวุธที่จะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้ในเวลาที่แจ่มใสที่สุด ดังนั้น ถ้าใครยิ่งต้องการความก้าวหน้า และความเฉียบแหลม จึงยิ่งต้องบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการรู้จัก...ใช้เมื่อพร้อมถึงขีดสุด และหยุดดูแลเมื่อเต็มล้า
น่าตกใจกับผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาชิ้น หนึ่งที่พบว่าเมืองนิวยอร์กทั้งเมืองล้วนเต็มไปด้วยสาวก Sleepless Society คนนอนไม่หลับมากมาย ในจำนวนนี้ยังได้หมายรวมไปถึงกลุ่มคนที่พยายามจะนอนให้หลับ และกลุ่มคนที่เทคยานอนหลับด้วย
จากการแยกแยะวิเคราะห์พฤติกรรมและผลกระทบยืนยันว่า คนส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ซึ่งมีความเคร่งเครียดหลักจากสภาวะกดดันเรื่องความก้าวหน้าในการงาน และค่าครองชีพ การนอนไม่หลับอันเนื่องจากไม่รู้จัก Shut Down ความคิดที่วนเวียนในสมองนี้ ยังส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้า หดหู่ ที่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย และเมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า มันก็จะเริ่มก่อตัวเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุด นั่นคือ เครียด-นอนไม่หลับ-หดหู่ซึมเศร้า-ขาดพลังงานและความคิดสร้างสรรค์-ผลงานไม่ น่าประทับใจ-วิตกจริต และกลับมาสู่วงจรแห่งความเครียดซ้ำซ้อน นักวิชาการทั่วโลกต่างออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า... นี่คือมหันตภัยทางจิต ของเวิร์กกิ้งแมนและวูแมนทั่วโลกแห่งปี 2008 ที่น่ากลัว
9 Checks, Are You A Sleepless Society?
ลองมาเช็กดูกันดีกว่าว่าวันนี้คุณมีอาการเข้าใกล้วงจรนอนไม่หลับแค่ไหน...คุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า
• หลับตานานแล้ว แต่สมองยังไม่หยุดคิด
• มักรู้สึกตัวระหว่างนอนหลับเป็นระยะๆ
• ระหว่างหลับรู้สึกว่าสมองยังคิดและกังวล
• ไม่อยากตื่นทั้งที่รู้สึกว่านอนมานานแล้ว
• ความคิดตื้อตันไม่ทันใจ
• ง่วงนอนระหว่างวัน
• รู้สึกซึมเศร้าอย่างไม่มีสาเหตุ
• ปวดหัว และอ่อนเพลียง่าย
• ตื่นด้วยความงัวเงียไม่แจ่มใส แม้จะอาบน้ำและแปรงฟัน
10 Ways to Sleep Well
ใช้ชีวิตเปลี่ยนแนว เพื่อการนอนหลับที่เป็นสุขและหมดทุกข์เรื่องเครียดกังวล กับ 10 คำแนะนำเหล่านี้
1. เข้านอนก่อน 4 ทุ่ม และตื่น 6 โมงเช้า เพราะนี่คือช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการพักผ่อนร่างกาย
2. สะสาง วางแผนสิ่งที่กังวลที่จะทำในวันต่อไปให้เรียบร้อยเพื่อลดอาการวิตกจริต และคิดซ้ำซาก
3. บอกกับตัวเองว่าการเครียดกังวล และใช้สมองในช่วงที่ต้องนอนหลับนั้นเปล่าประโยชน์ เนื่องจากสติ สัมปชัญญะ และความอ่อนล้าของร่างกายคืออุปสรรค ดังนั้น นอนหลับให้สนิทแล้วตื่นมาคิดอย่างแจ่มใส ย่อมให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า
4. ถ้าคุณนอนหลับยาก ควรออกกำลังกายในช่วงเย็น หรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน แต่อย่าทำใกล้เวลานอน
5. ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส แล้วจะหลับง่ายสบายบอดี้
6. เสริมเครื่องฟอกอากาศในห้องนอนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่สมดุล จะนอนหลับลึกได้ต่อเนื่อง
7. ความมืดมิดและไร้เสียง คือเคล็ดลับที่จะทำให้หลับได้สนิทและยาวนาน
8. ดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของกรด อะมิโน Tryptophan จากโปรตีน อย่างธัญพืช หรือเครื่องดื่ม Whole Grains ก่อนนอน จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสาร Niacin จากวิตามินบี 5 ทำให้สมองและร่างกายผ่อนคลาย และง่วงนอนง่ายขึ้น
9. สร้างกิจวัตรใหม่ด้วยการเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน ลองทำแค่ 1 อาทิตย์ ติดต่อกัน ร่างกายก็คุ้นเคยแล้ว
10. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และช็อกโกแลตระหว่างวัน เพราะกาเฟอีนที่ผสมอยู่จะทำให้ร่างกายตื่นตัว
สมองคืออาวุธที่จะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อถูกนำมาใช้ในเวลาที่แจ่มใสที่สุด ดังนั้น ถ้าใครยิ่งต้องการความก้าวหน้า และความเฉียบแหลม จึงยิ่งต้องบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการรู้จัก...ใช้เมื่อพร้อมถึงขีดสุด และหยุดดูแลเมื่อเต็มล้า
แหล่งที่มา http://hilight.kapook.com/view/25639, Woman Plus
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/dme0419/shabby-chic-bedrooms/
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/dme0419/shabby-chic-bedrooms/
No comments:
Post a Comment