ถ้าพูดถึงประโยชน์ของถั่วดำ
หรือ Black
bean หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าสรรพคุณของถั่วดำจัดว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งได้ดีอีกชนิดหนึ่งเลยนะ
เมนูถั่วดำเป็นของหวานที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะถั่วดำทำอะไรก็อร่อย ไม่ว่าจะเป็นขนมไทย ๆ อย่างข้าวเหนียวเปียกถั่วดำ ถั่วดำน้ำกะทิ หรือข้ามทวีปไปอีกนิดเป็นบราวนี่ถั่วดำ เห็นได้ชัดว่าถั่วดำเป็นธัญพืชที่กินง่ายจริง ๆ แต่นอกจากประโยชน์ในด้านความอร่อยที่หลากหลายแล้ว รู้ไหมคะว่าประโยชน์ของถั่วดำก็เด็ดสะระตี่ไม่เบาเชียวล่ะ โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง
ทว่าก่อนจะไปดูประโยชน์ของถั่วดำ เราอยากโชว์คุณค่าทางอาหารของถั่วดำในปริมาณ 100 กรัม โดยอ้างอิงจากข้อมูลกองโภชนาการ กรมอนามัย ตามนี้ก่อนเลย
เมนูถั่วดำเป็นของหวานที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะถั่วดำทำอะไรก็อร่อย ไม่ว่าจะเป็นขนมไทย ๆ อย่างข้าวเหนียวเปียกถั่วดำ ถั่วดำน้ำกะทิ หรือข้ามทวีปไปอีกนิดเป็นบราวนี่ถั่วดำ เห็นได้ชัดว่าถั่วดำเป็นธัญพืชที่กินง่ายจริง ๆ แต่นอกจากประโยชน์ในด้านความอร่อยที่หลากหลายแล้ว รู้ไหมคะว่าประโยชน์ของถั่วดำก็เด็ดสะระตี่ไม่เบาเชียวล่ะ โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง
ทว่าก่อนจะไปดูประโยชน์ของถั่วดำ เราอยากโชว์คุณค่าทางอาหารของถั่วดำในปริมาณ 100 กรัม โดยอ้างอิงจากข้อมูลกองโภชนาการ กรมอนามัย ตามนี้ก่อนเลย
คุณค่าทางอาหารของถั่วดำดิบ ปริมาณ 100
กรัม
- พลังงาน 357 กิโลแคลอรี
- น้ำ 9.3 กรัม
- โปรตีน 23.8 กรัม
- ไขมัน 1.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 61.8 กรัม
- กากใยอาหาร 4.6 กรัม
- สารอนินทรีย์ (Ash) 3.5 กรัม
- แคลเซียม 57 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 479 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 16.5 มิลลิกรัม
- ไธอะมิน 0.19 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.12 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.5 มิลลิกรัม
แต่หากนำถั่วดำปริมาณ 100 กรัม ไปปรุงสุกด้วยการคั่ว จะได้สารอาหารเพิ่มมาอีก 2 อย่างอันได้แก่
- เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม
- วิตามิน A รวม 1 ไมโครกรัม
- พลังงาน 357 กิโลแคลอรี
- น้ำ 9.3 กรัม
- โปรตีน 23.8 กรัม
- ไขมัน 1.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 61.8 กรัม
- กากใยอาหาร 4.6 กรัม
- สารอนินทรีย์ (Ash) 3.5 กรัม
- แคลเซียม 57 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 479 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 16.5 มิลลิกรัม
- ไธอะมิน 0.19 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.12 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.5 มิลลิกรัม
แต่หากนำถั่วดำปริมาณ 100 กรัม ไปปรุงสุกด้วยการคั่ว จะได้สารอาหารเพิ่มมาอีก 2 อย่างอันได้แก่
- เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม
- วิตามิน A รวม 1 ไมโครกรัม
ประโยชน์ของถั่วดำ มากล้ำไปด้วยสรรพคุณดี ๆ
1. ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร และน้ำตาลในเลือด
จากที่เห็นว่าถั่วดำเป็นแหล่งโปรตีน เส้นใยอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีหลายชนิด ถั่วดำจึงมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี และยังช่วยสร้างสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้เพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วด้วย
2. เป็นอาหารต้านมะเร็งรังไข่
ด้วยสรรพคุณของถั่วดำที่ช่วยบำรุงสุขภาพม้าม ขับความชื้นในร่างกาย บำรุงพลังส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นปราการป้องกันเซลล์ร้ายได้ทางหนึ่ง
อีกด้วยสรรพคุณช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกาย ถั่วดำจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่ อันเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายได้นั่นเอง
ทั้งนี้เราก็มีสูตรเมนูซุปถั่วดำ กินเพื่อต้านมะเร็งรังไข่มาฝากด้วย ตามนี้เลยค่ะ
1. ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร และน้ำตาลในเลือด
จากที่เห็นว่าถั่วดำเป็นแหล่งโปรตีน เส้นใยอาหาร และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีหลายชนิด ถั่วดำจึงมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี และยังช่วยสร้างสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้เพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วด้วย
2. เป็นอาหารต้านมะเร็งรังไข่
ด้วยสรรพคุณของถั่วดำที่ช่วยบำรุงสุขภาพม้าม ขับความชื้นในร่างกาย บำรุงพลังส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นปราการป้องกันเซลล์ร้ายได้ทางหนึ่ง
อีกด้วยสรรพคุณช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกาย ถั่วดำจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่ อันเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายได้นั่นเอง
ทั้งนี้เราก็มีสูตรเมนูซุปถั่วดำ กินเพื่อต้านมะเร็งรังไข่มาฝากด้วย ตามนี้เลยค่ะ
สูตรซุปถั่วดำ
ส่วนผสม ซุปถั่วดำ
- ถั่วดำ 250 กรัม
- น้ำเปล่า 10 ถ้วย
วิธีทำซุปถั่วดำ
- ต้มถั่วดำกับน้ำด้วยไฟอ่อน ต้มนาน ๆ จนน้ำข้น ดื่มน้ำซุปบ่อย ๆ
3. ป้องกันมะเร็งลำไส้
นอกจากถั่วดำจะเป็นอาหารต้านมะเร็งรังไข่แล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย เนื่องจากในเปลือกถั่วดำเป็นแหล่งสะสมสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง โดยมีงานวิจัยพบว่า สารฟลาโวนอยด์ที่พบในเปลือกถั่วดำมีอยู่ถึง 8 ชนิดด้วยกัน จึงช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการกลายพันธุ์เป็นเซลล์ร้ายได้
ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยจาก Michigan State University ที่ให้หนูทดลองกินถั่วดำแล้วพบว่า หนูทดลองมีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ลดลงราว 44-75% ขึ้นอยู่กับปริมาณถั่วดำที่กินเข้าไป และยังพบว่าหนูทดลองที่กินถั่วดำอย่างสม่ำเสมอมีปริมาณไขมันในร่างกายลดลงด้วย โดยเฉพาะปริมาณไขมันในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
4. ป้องกันมะเร็งตับ
ในถั่วดำยังมีสารเซเลเนียมอยู่มาก ซึ่งเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดที่พบไม่ได้ง่าย ๆ ในผักและผลไม้ทั่วไป แต่สามารถพบได้ในถั่วดำ ซึ่งเซเลเนียมตัวนี้จะช่วยปรับสมดุลเอนไซม์ในตับ และช่วยดีท็อกซ์สารพิษในตับที่อาจก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการกินถั่วดำเป็นประจำก็จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับได้นั่นเอง
5. ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
จากการศึกษาพบว่า ถั่วดำมีโฟเลทค่อนข้างสูง ซึ่งจะช่วยปกป้องเซลล์ในระดับ DNA และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่สึกหรอ เป็นปราการป้องกันไม่ให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะกับโรคมะเร็งเต้านมค่ะ
ส่วนผสม ซุปถั่วดำ
- ถั่วดำ 250 กรัม
- น้ำเปล่า 10 ถ้วย
วิธีทำซุปถั่วดำ
- ต้มถั่วดำกับน้ำด้วยไฟอ่อน ต้มนาน ๆ จนน้ำข้น ดื่มน้ำซุปบ่อย ๆ
3. ป้องกันมะเร็งลำไส้
นอกจากถั่วดำจะเป็นอาหารต้านมะเร็งรังไข่แล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย เนื่องจากในเปลือกถั่วดำเป็นแหล่งสะสมสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง โดยมีงานวิจัยพบว่า สารฟลาโวนอยด์ที่พบในเปลือกถั่วดำมีอยู่ถึง 8 ชนิดด้วยกัน จึงช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการกลายพันธุ์เป็นเซลล์ร้ายได้
ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยจาก Michigan State University ที่ให้หนูทดลองกินถั่วดำแล้วพบว่า หนูทดลองมีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ลดลงราว 44-75% ขึ้นอยู่กับปริมาณถั่วดำที่กินเข้าไป และยังพบว่าหนูทดลองที่กินถั่วดำอย่างสม่ำเสมอมีปริมาณไขมันในร่างกายลดลงด้วย โดยเฉพาะปริมาณไขมันในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
4. ป้องกันมะเร็งตับ
ในถั่วดำยังมีสารเซเลเนียมอยู่มาก ซึ่งเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดที่พบไม่ได้ง่าย ๆ ในผักและผลไม้ทั่วไป แต่สามารถพบได้ในถั่วดำ ซึ่งเซเลเนียมตัวนี้จะช่วยปรับสมดุลเอนไซม์ในตับ และช่วยดีท็อกซ์สารพิษในตับที่อาจก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการกินถั่วดำเป็นประจำก็จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับได้นั่นเอง
5. ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
จากการศึกษาพบว่า ถั่วดำมีโฟเลทค่อนข้างสูง ซึ่งจะช่วยปกป้องเซลล์ในระดับ DNA และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่สึกหรอ เป็นปราการป้องกันไม่ให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะกับโรคมะเร็งเต้านมค่ะ
6.
ป้องกันโรคหัวใจ
ด้วยสารอาหารในถั่วดำที่มีทั้งไฟเบอร์ โพแทสเซียม โฟเลท วิตามินบี และไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดอื่น ๆ จึงดีต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดกากใยอาหารในถั่วดำ จะมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคหัวใจได้
7. ป้องกันพาร์กินสันและอัลไซเมอร์
วิตามินและแร่ธาตุในถั่วดำมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทในร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหล่าวิตามินบี โฟเลท และกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบประสาท ฉะนั้นการเติมสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ให้ร่างกายด้วยการกินถั่วดำบ่อย ๆ จึงสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ได้ด้วยนะ
8. ป้องกันภาวะโลหิตจาง
เนื่องจากปริมาณธาตุเหล็กในถั่วดำที่มีอยู่ค่อนข้างสูง จึงช่วยเติมธาตุเหล็กให้กับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคโลหิตจางได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถกินถั่วดำเพื่อเพิ่มธาตุเหล็กแล้ว ยังมีอาหารช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางอื่น ๆ เช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต และถั่วแดงเป็นตัวเลือกด้วยนะคะ
9. ช่วยล้างพิษ
ถั่วดำมีสรรพคุณช่วยขับพิษและบำรุงไต เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ที่เป็นสารล้างพิษตัวเด่น ๆ อีกทั้งในถั่วดำยังมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติล้างพิษได้ดี ซึ่ง อ.ชินริณี วีระวุฒิวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ระบุว่า หากเทียบกับสรรพคุณในการล้างพิษของส้มแล้ว ถั่วดำจะมีประสิทธิภาพในการดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายได้มากกว่าส้มถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
10. ดีต่อหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญในยามตั้งครรภ์ เพราะอาหารที่คุณแม่กินจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกในท้องด้วย ดังนั้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรก็ควรต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษค่ะ ซึ่งในจุดนี้เราก็อยากแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ให้นมบุตรกินถั่วดำเป็นประจำ เพราะไม่เพียงแต่ถั่วดำจะมีโปรตีนสูงเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโฟเลท ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการเจริญเติบโตของลูกน้อย โดยช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางให้กับแม่และลูก รวมทั้งช่วยป้องกันภาวะไขกระดูกสมองและไขสันหลังมีรูปร่างผิดปกติได้อีกด้วย
ถ้าถั่วดำจะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ เราก็อย่ารอช้ากันอีกต่อไป มาทำเมนูถั่วดำกินกันเลย !
- บราวนี่ถั่วดำไร้แป้ง ขนมหวานแต่ไม่อ้วน คนลดน้ำหนักมีเฮ
- โดรายากิไส้ถั่วดำ ไส้แน่นแป้งนุ่มหวานน้อยอร่อยเต็มคำ
- 12 สูตรแกงบวด ขนมไทยหอมกะทิหลากหลายความอร่อย
อ๊ะ ! แต่ทั้งนี้ก็ขอฝากไว้นิดนึงว่า ถั่วดำก็มีข้อจำกัดในการรับประทานอยู่บางอย่าง ซึ่งก็ควรต้องระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของเราด้วยค่ะ
ด้วยสารอาหารในถั่วดำที่มีทั้งไฟเบอร์ โพแทสเซียม โฟเลท วิตามินบี และไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดอื่น ๆ จึงดีต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดกากใยอาหารในถั่วดำ จะมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคหัวใจได้
7. ป้องกันพาร์กินสันและอัลไซเมอร์
วิตามินและแร่ธาตุในถั่วดำมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทในร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหล่าวิตามินบี โฟเลท และกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบประสาท ฉะนั้นการเติมสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ให้ร่างกายด้วยการกินถั่วดำบ่อย ๆ จึงสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ได้ด้วยนะ
8. ป้องกันภาวะโลหิตจาง
เนื่องจากปริมาณธาตุเหล็กในถั่วดำที่มีอยู่ค่อนข้างสูง จึงช่วยเติมธาตุเหล็กให้กับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคโลหิตจางได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถกินถั่วดำเพื่อเพิ่มธาตุเหล็กแล้ว ยังมีอาหารช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางอื่น ๆ เช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต และถั่วแดงเป็นตัวเลือกด้วยนะคะ
9. ช่วยล้างพิษ
ถั่วดำมีสรรพคุณช่วยขับพิษและบำรุงไต เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ที่เป็นสารล้างพิษตัวเด่น ๆ อีกทั้งในถั่วดำยังมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติล้างพิษได้ดี ซึ่ง อ.ชินริณี วีระวุฒิวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ระบุว่า หากเทียบกับสรรพคุณในการล้างพิษของส้มแล้ว ถั่วดำจะมีประสิทธิภาพในการดีท็อกซ์สารพิษในร่างกายได้มากกว่าส้มถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
10. ดีต่อหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญในยามตั้งครรภ์ เพราะอาหารที่คุณแม่กินจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกในท้องด้วย ดังนั้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรก็ควรต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษค่ะ ซึ่งในจุดนี้เราก็อยากแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ให้นมบุตรกินถั่วดำเป็นประจำ เพราะไม่เพียงแต่ถั่วดำจะมีโปรตีนสูงเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโฟเลท ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการเจริญเติบโตของลูกน้อย โดยช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางให้กับแม่และลูก รวมทั้งช่วยป้องกันภาวะไขกระดูกสมองและไขสันหลังมีรูปร่างผิดปกติได้อีกด้วย
ถ้าถั่วดำจะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ เราก็อย่ารอช้ากันอีกต่อไป มาทำเมนูถั่วดำกินกันเลย !
- บราวนี่ถั่วดำไร้แป้ง ขนมหวานแต่ไม่อ้วน คนลดน้ำหนักมีเฮ
- โดรายากิไส้ถั่วดำ ไส้แน่นแป้งนุ่มหวานน้อยอร่อยเต็มคำ
- 12 สูตรแกงบวด ขนมไทยหอมกะทิหลากหลายความอร่อย
อ๊ะ ! แต่ทั้งนี้ก็ขอฝากไว้นิดนึงว่า ถั่วดำก็มีข้อจำกัดในการรับประทานอยู่บางอย่าง ซึ่งก็ควรต้องระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของเราด้วยค่ะ
ข้อควรระวังในการกินถั่วดำ
1. ต้องปรุงสุกก่อนกิน
ไม่ควรกินถั่วดำที่ไม่สุก หรือสุกไม่เต็มที่ เพราะที่เปลือกของถั่วดำจะมีกรดไฟติก ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัส โดยหากร่างกายได้รับสารนี้เข้าไป ก็จะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารดังกล่าวได้ตามปกติ และอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกายได้ อย่างเช่น มีความผิดปกติของเม็ดเลือด เป็นต้น ดังนั้นก่อนรับประทานถั่วดำควรต้องแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนแล้วนำไปต้มหรือปรุงให้สุกเสียก่อน
2. คนที่มีอาการแพ้โปรตีนควรต้องระวังถั่วดำด้วย
ในคนที่มีอาการแพ้โปรตีน โดยกินถั่วลิสงแล้วแพ้ กินนมแล้วเกิดอาการแพ้ ก็อาจจะต้องระแวงไว้ก่อนว่ากินถั่วดำแล้วอาจจะแพ้ได้เช่นกัน ดังนั้นหากจะลองกินถั่วดำอาจต้องลองกินทีละนิด เพื่อสังเกตอาการแพ้ของตัวเอง
3. กินถั่วดำมากไปอาจเกิดก๊าซในกระเพาะได้
ในถั่วดำมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เรียกว่าโอลิโกแซ็กคาร์ไรด์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระบวนการย่อยอาหารได้ และหากร่างกายมีเจ้าตัวนี้สะสมอยู่เยอะในลำไส้ ก็จะเปลี่ยนเป็นก๊าซมีเทน ทำให้เกิดอาการอืดท้อง และร่างกายอาจระบายก๊าซมีเทนออกมาด้วยการผายลมหรือการเรอนั่นเองค่ะ
1. ต้องปรุงสุกก่อนกิน
ไม่ควรกินถั่วดำที่ไม่สุก หรือสุกไม่เต็มที่ เพราะที่เปลือกของถั่วดำจะมีกรดไฟติก ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัส โดยหากร่างกายได้รับสารนี้เข้าไป ก็จะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารดังกล่าวได้ตามปกติ และอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกายได้ อย่างเช่น มีความผิดปกติของเม็ดเลือด เป็นต้น ดังนั้นก่อนรับประทานถั่วดำควรต้องแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนแล้วนำไปต้มหรือปรุงให้สุกเสียก่อน
2. คนที่มีอาการแพ้โปรตีนควรต้องระวังถั่วดำด้วย
ในคนที่มีอาการแพ้โปรตีน โดยกินถั่วลิสงแล้วแพ้ กินนมแล้วเกิดอาการแพ้ ก็อาจจะต้องระแวงไว้ก่อนว่ากินถั่วดำแล้วอาจจะแพ้ได้เช่นกัน ดังนั้นหากจะลองกินถั่วดำอาจต้องลองกินทีละนิด เพื่อสังเกตอาการแพ้ของตัวเอง
3. กินถั่วดำมากไปอาจเกิดก๊าซในกระเพาะได้
ในถั่วดำมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เรียกว่าโอลิโกแซ็กคาร์ไรด์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระบวนการย่อยอาหารได้ และหากร่างกายมีเจ้าตัวนี้สะสมอยู่เยอะในลำไส้ ก็จะเปลี่ยนเป็นก๊าซมีเทน ทำให้เกิดอาการอืดท้อง และร่างกายอาจระบายก๊าซมีเทนออกมาด้วยการผายลมหรือการเรอนั่นเองค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สสส
DRERICZ
The Doctor Oz Show
organicfacts
medicalnewstoday
The Doctor Oz Show
organicfacts
medicalnewstoday
เครดิตภาพ http://health.kapook.com/view160039.html
No comments:
Post a Comment